เข้าถึงลูกค้าได้ตรงจุดด้วย Dark Post เครื่องมือที่นักการตลาดต้องรู้!
สำหรับธุรกิจออนไลน์ที่มีโซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ การสร้างโพสต์หรือคอนเทนต์ที่มีเนื้อหาตรงกับความต้องการหรือ Insight ของกลุ่มเป้าหมายโดยตรง ถือเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกว่าสินค้าของแบรนด์สามารถแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดเมื่อเทียบกับคู่แข่งในตลาดเจ้าอื่น ๆ แล้ว สิ่งนี้ยังถือเป็นการทำ Lead Nurturing หรือการหล่อเลี้ยงลูกค้าให้อยู่ในวงจรการซื้อขาย และช่วยให้พวกเขารู้สึกว่าตนเองเชื่อมต่อกับแบรนด์ได้ตลอดเวลาอีกด้วย
แต่โดยทั่วไป โซเชียลมีเดียของแบรนด์มักมีกลุ่มเป้าหมายมากกว่าหนึ่งกลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มก็มีความต้องการที่แตกต่างกันไป ดังนั้น นี่จึงเป็นที่มาของเครื่องมือที่เรียกว่า Dark Post ซึ่งช่วยให้แบรนด์สามารถจัดการกับโพสต์ให้ตรงกับความต้องการของแต่ละกลุ่มเป้าหมายได้ โดยไม่จำเป็นต้องเสียเงินค่ายิงโฆษณาแม้แต่น้อย!
เมื่อมีประโยชน์ขนาดนี้ วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้กันว่า Dark Post ที่ว่านี้คืออะไร และจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์กับการทำการตลาดออนไลน์อย่างไรได้บ้าง ติดตามได้เลย
Table of Contents
ไขข้อข้องใจ Dark Post คืออะไรกันแน่?
อย่างที่กล่าวไปตอนต้นว่า การทำธุรกิจทางโซเชียลมีเดีย หนึ่งในปัญหายอดฮิตที่แก้ไม่ตก ก็คือสิ่งที่แบรนด์โพสต์ออกไปอาจถูกใจคนกลุ่มหนึ่ง แต่ในทางกลับกันก็อาจสร้างความรำคาญใจให้กับคนอีกกลุ่มหนึ่งก็เป็นได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเป็นร้านขายอาหารสัตว์และต้องการสร้างโพสต์เพื่อโปรโมตอาหารแมว แน่นอนว่าคุณต้องทำโพสต์แนว Insight ที่เกี่ยวข้องกับเจ้าของแมวโดยเฉพาะ ซึ่งสิ่งนี้เองที่ทำให้ผู้ติดตามร้านที่เลี้ยงสัตว์ประเภทอื่น ๆ ไม่ว่าจะสุนัข ปลา หรือนก เกิดความรำคาญใจหรือรู้สึกว่าร้านไม่ได้สื่อสารกับพวกเขาโดยตรง จนทำให้อยากเลื่อนผ่าน และไม่อยากเข้ามา Engage กับร้านเพิ่มได้
สิ่งนี้เองจึงเป็นที่มาของการใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า Dark Post เข้ามาช่วยแก้ไข แต่ถึงแม้ชื่อจะดูน่ากลัวสักหน่อย แต่บอกเลยว่าเครื่องมือชนิดนี้มีประโยชน์กับนักการตลาดอย่างมาก โดย Dark Post จะช่วยให้นักการตลาดสามารถตั้งค่าว่าโพสต์ได้อย่างสะดวก และสามารถเลือกได้ว่าจะขึ้น Feed ให้ผู้ติดตามกลุ่มใดเห็น โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือการใช้สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายโดยตรง และไม่ทำให้ผู้ติดตามกลุ่มอื่น ๆ รู้สึกรำคาญใจ และที่สำคัญวิธีนี้ยังไม่ต้องเสียเงินเจาะกลุ่มเป้าหมายเหมือนอย่างวิธีการยิง Ads อีกด้วย นอกจากนี้ Dark Post ยังจะช่วยในกรณีที่นักการตลาดไม่ต้องการที่จะสื่อสารเรื่องเดิม ๆ ให้กับคนกลุ่มเดิม แต่อยากสื่อสารเพื่อขยายตลาด หรือแม้แต่การจะบอกโปรโมชันกับคนกลุ่มหนึ่ง แต่ไม่อยากให้ลูกค้าอีกกลุ่มรู้ ก็สามารถทำได้ผ่านการเลือกตั้งค่าให้โพสต์ไม่ปรากฏให้ใครเห็นนอกจากกลุ่มเป้าหมายที่นักการตลาดต้องการ
แพลตฟอร์มไหนที่ใช้ Dark Post ได้บ้าง?
แล้วต้องทำการตลาดบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียใด ถึงจะใช้ Dark Post ได้ล่ะ?
คำตอบของคำถามนี้ก็คือ สามารถใช้ได้ทั้ง Facebook, LinkedIn, Twitter หรือแม้แต่ Pinterest ก็สามารถนำไปใช้ได้ด้วยเช่นกัน โดยแรกเริ่มเดิมทีเครื่องมือ Dark Post ถูกใช้ทำการตลาดบน Facebook ก่อนเป็นอันดับแรก โดยใช้ชื่อเรียกว่า Unpublished Post ต่อมาเมื่อแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอื่น ๆ เริ่มพัฒนาขึ้นพร้อมกับออกฟีเจอร์ใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองการใช้งานของผู้ใช้ ทำให้ Dark Post เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยในการทำการตลาดในแพลตฟอร์มอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน
ข้อดีของ Dark Post
เพื่อให้ทุกคนเห็นประโยชน์ของเครื่องมือตั้งค่าโพสต์อย่าง Dark Post ได้อย่างชัดเจนมากขึ้น เราขอรวบรวมข้อดีของเครื่องมือตัวนี้มาให้รู้กันแบบชัด ๆ ดังนี้
1. โพสต์ของแบรนด์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้แม่นยำ
ถือว่าเป็นวัตถุประสงค์หลักที่นักการตลาดใช้เครื่องมือ Dark Post เลยก็ว่าได้ แน่นอนว่าเวลาที่เราเผยแพร่โพสต์ออร์แกนิกออกไป เราไม่สามารถเลือกได้อยู่ว่าจะให้ผู้ชมคนไหนในหน้า Feed เห็นบ้าง ดังนั้นการใช้ Dark Post จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยเจาะจงผู้ชม ช่วยให้นักการตลาดสร้างโพสต์ที่เหมาะสมกับ Insight ของกลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุด
2. นักการตลาดสร้างสรรค์โพสต์ได้อย่างอิสระ
เมื่อใช้ Dark Post คัดสรรโพสต์เรียบร้อยแล้ว ว่ากลุ่มเป้าหมายกลุ่มใดจะได้เห็นบ้าง ผลที่ตามมาก็คือ นักการตลาดจะสามารถสร้างสรรค์โพสต์ได้อย่างอิสระ รวมถึงสามารถนำเสนอไอเดียใหม่ ๆ ได้อย่างอิสระ เนื่องจากการตั้งค่า Dark Post นี้จะทำให้ผู้ที่เห็นโพสต์เป็นกลุ่มเป้าหมายที่นักการตลาดต้องการที่จะสื่อสารออกไปจริง ๆ จึงไม่จำเป็นต้องมานั่งกังวลว่าโพสต์นั้น ๆ จะไปรบกวนคนบางกลุ่ม หรือทำให้พวกเขารู้สึกว่าไม่เกี่ยวข้องหรือไม่
3. เจาะกลุ่มเป้าหมายได้แบบไม่เสียค่าใช้จ่าย
จริง ๆ แล้วการเจาะจงผู้เห็นโพสต์ของ Dark Post คล้ายคลึงกับการทำ Promoted Post หรือยิงโฆษณาอย่างมาก เพียงแต่ว่า Dark Post ไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด จึงเป็นข้อดีสำหรับนักการตลาด เพราะเพียงใช้เครื่องมือของ Facebook ที่ชื่อว่า Power Editor ก็สามารถทำได้แล้ว
4. ทดสอบได้ว่าโพสต์แบบไหนดีที่สุด
นอกจากประโยชน์ที่สามารถสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้แม่นยำแล้ว Dark Post ยังมีประโยชน์สำหรับการทดสอบ A/B Testing โพสต์อีกด้วย โดยนักการตลาดอาจสร้างโพสต์ออกมาหลาย ๆ รูปแบบ จากนั้นก็เปิดให้กลุ่มเป้าหมายบางกลุ่มเห็น เพื่อทดสอบผลลัพธ์ดูว่ากลุ่มเป้าหมายไหนเข้ามามีส่วนร่วมหรือชื่นชอบกับโพสต์นั้น ๆ มากที่สุด เพื่อที่จะได้นำผลลัพธ์ไปวางแผนสร้างเป็นโพสต์จริงต่อไป
5. สร้างประสบการณ์ที่ดีให้ผู้ติดตาม
Dark Post ยังช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ผู้ติดตามโซเชียลมีเดียอีกด้วย เพราะนักการตลาดจะสามารถจัดการได้ว่าโพสต์ใดที่ผู้ติดตามเคยเห็นไปแล้ว ก็สามารถตั้งค่าไม่ให้พวกเขาเห็นอีก ก็จะช่วยให้พวกเขาไม่เกิดความรำคาญ นอกจากนี้ การจัดการโพสต์ให้เหมาะสมตาม Insight ของกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม ยังเป็นเหมือนการทำการตลาดเฉพาะบุคคลหรือ Personalized Marketing ซึ่งช่วยให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกประทับใจว่าแบรนด์เข้าใจพวกเขาจริง ๆ และปฏิบัติกับพวกเขาราวกับเป็นลูกค้าคนพิเศษ จึงช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีให้พวกเขาได้อีกทางหนึ่ง
ข้อเสียของ Dark Post
แม้จะมีข้อดีมากมาย แต่การทำ Dark Post ก็มีข้อเสียสำหรับนักการตลาดอยู่บ้างเช่นกัน เนื่องจากการโพสต์ในมุมมืดและเจาะจงให้คนเห็นเฉพาะแค่บางกลุ่มนั้น อาจทำให้นักการตลาดไม่สามารถเห็นโพสต์ของคู่แข่งในสินค้าประเภทเดียวกันได้ ทำให้ยากที่จะประเมินว่าตอนนี้คู่แข่งของเรากำลังสร้างสรรค์โพสต์แบบไหน เนื้อหาที่จะสื่อสารของพวกเขาคืออะไร หรือมีทิศทางของงานภาพอย่างไร นอกจากนี้ ข้อเสียอีกประการหนึ่งที่หลายคนอาจไม่ค่อยนึกถึงก็คือ การสร้าง Dark Post ที่แสดง Insight ของกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกและเฉพาะเจาะจงมากเกินไป ก็อาจทำให้กลุ่มเป้าหมายที่เห็นโพสต์รู้สึกไม่สบายใจและคิดว่าแบรนด์กำลังรุกล้ำความเป็นส่วนตัวก็เป็นได้ ดังนั้น นักการตลาดจึงควรระวังถึงความเหมาะสมเพื่อไม่ให้ล้ำเส้นกลุ่มผู้ติดตามมากจนเกินไปนัก
สร้าง Dark Post ง่าย ๆ ด้วยเครื่องมือ Power Editor
ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้ นักการตลาดหลายคนอาจอยากจะเริ่มทำ Dark Post กันบ้างแล้ว เราขอบอกเลยว่าขั้นตอนการทำก็ไม่ยุ่งยาก โดยเราขอยกตัวอย่างการสร้าง Dark Post ใน Facebook มาให้รู้กันดังนี้
- Log In เข้าไปที่เพจแบรนด์โซเชียลมีเดียที่คุณกำลังดูแลอยู่ จากนั้นกดที่รูปสามเหลี่ยมมุมบนขวา
- เข้าไปที่เมนู Manage Ad จากนั้นเลือกที่เมนู Power Editor
- เลือก Page Posts จากนั้นคลิกที่ Create Post
- เลือก Post type ที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็น Link, Photo, Video, Status หรือ Offer
- กรอกรายละเอียดให้ครบ ทั้งช่อง URL, Post Text ข้อความที่ต้องการให้ไปปรากฏในโพสต์, ปุ่ม Call To Action, Link Headline, Display Link, Description
- ขั้นตอนนี้ถือว่าสำคัญอย่างมากสำหรับการสร้าง Dark Post หรือ Unpublished Post คือ การกดคลิกเลือกที่ปุ่ม Select This Post Will Only Be Used as an Ad
- กด Create Post เป็นอันเสร็จสิ้น
สรุป
สำหรับใครที่กำลังมองหาวิธีเจาะกลุ่มเป้าหมายหรือสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ผู้ติดตามเพจ ก็สามารถนำเครื่องมือ Dark Post ไปลองสร้างโพสต์กันได้ ไม่แน่ว่าคุณอาจได้วิธีเข้าถึงลูกค้าใหม่ ๆ ที่ช่วยให้ธุรกิจออนไลน์ดีขึ้นกว่าเดิมแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
แต่สำหรับใครที่ไม่แน่ใจว่าคอนเทนต์แบบใดถึงจะตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายของตนเองมากที่สุดก็ไม่ต้องกังวล เพราะผู้เชี่ยวชาญจาก Primal Digital Agency พร้อมช่วยคุณในทุกขั้นตอน เราคือเอเจนซีดิจิทัลที่มีประสบการณ์กว่า 8 ปี และมีประสบการณ์ดูแลลูกค้าทั้งแบรนด์เล็กแบรนด์ใหญ่มากว่า 500 แบรนด์ รับรองว่าถ้าร่วมงานกับเรา แบรนด์ของคุณจะสามารถสร้างผลลัพธ์ทางการตลาดที่ดีขึ้นกว่าเดิมแน่นอน!
Join the discussion - 0 Comment