Content Curation คืออะไร เทคนิคทำคอนเทนต์ที่เพิ่ม Engage ได้!
ในโลกที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้าถึงผู้คนในทุกอิริยาบถ ผู้คนต่างใช้อินเทอร์เน็ตราวกับเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่ขาดไม่ได้ ทำให้ “คอนเทนต์” กลายเป็นผลผลิตของการทำการตลาดออนไลน์ ที่ช่วยให้แบรนด์เข้าถึงลูกค้าได้มากที่สุดในขณะนี้ หรืออีกนัยหนึ่งอาจกล่าวได้ว่า คอนเทนต์เป็นวัตถุดิบสำคัญสำหรับการทำ Social Media Marketing ที่ช่วยให้การทำการตลาดออนไลน์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น!
อย่างไรก็ดี การทำคอนเทนต์ภายใต้แนวคิดของ Content Marketing ก็มีด้วยกันหลายรูปแบบ แต่ประเภทที่เราอยากให้ทุกคนรู้จักในบทความนี้มีชื่อว่า Content Curation ซึ่งแม้เพิ่งเกิดขึ้นได้เพียงไม่นาน แต่ก็กำลังเป็นที่นิยม เพราะนักการตลาดออนไลน์หลาย ๆ คนนำมาปรับใช้ในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ให้กับแบรนด์ ทั้งยังเป็นวิธีการที่สามารถเรียก Engagement จากกลุ่มเป้าหมายได้ไม่น้อยเลย!
ถ้าใครยังไม่แน่ใจว่า Content Curation คืออะไร แล้วมีความคล้ายหรือต่างจาก Content Creation ที่เคยได้ยินกันบ่อย ๆ หรือไม่ เรารวบรวมคำตอบที่ทุกคนสงสัยมาไว้ในบทความนี้แล้ว!
Table of Contents
Content Curation คืออะไร รูปแบบคอนเทนต์ที่นักการตลาดต้องรู้!
ก่อนไปรู้จักกับ Content Curation มาทำความเข้าใจกันก่อนว่า Content และ Curation คืออะไร?
Content Curation เกิดจากการนำคำว่า Content มาผสมรวมเข้ากับ Curation แน่นอนว่า Content ก็คือสิ่งที่เราสร้างสรรค์เพื่อทำการตลาดทางออนไลน์ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโพสต์ทางโซเชียลมีเดีย รูปภาพ วิดีโอ อินโฟกราฟิก หรือแม้แต่พอดแคสต์
ส่วน Curation ถ้าหากแปลตรงตัวจะหมายถึง การดูแลและจัดการหรือสงวนไว้เพื่อป้องกันการสูญหายหรือเพื่อรักษาคุณภาพ
ดังนั้น หากนำทั้งสองคำมารวมกันเป็น Content Curation ก็จะหมายถึง การคัดสรรและรวบรวมคอนเทนต์จากแหล่งต่าง ๆ เพื่อนำมาเผยแพร่อีกครั้งผ่านช่องทางของแบรนด์ โดยนำเสนอด้วยคอนเซ็ปต์หรือวิธีการต่าง ๆ ซึ่งความน่าสนใจก็คือ นักการตลาดอาจไม่จำเป็นต้องสร้างคอนเทนต์นั้น ๆ ด้วยตัวเองก็ได้
ตัวอย่างง่าย ๆ ที่หลายคนน่าจะคุ้นเคยก็คือ เพลย์ลิสต์วิดีโอใน YouTube ซึ่งผู้เป็นเจ้าของเพลย์ลิสต์ไม่ได้เป็นคนสร้างคลิปเหล่านั้นด้วยตนเอง แต่เป็นการรวบรวมวิดีโอที่มีอยู่แล้วใน YouTube มานำเสนอใหม่จากความสนใจของพวกเขา เช่นเดียวกับการการรวบรวมบล็อกจากหลาย ๆ ต้นฉบับ รวมไปถึงการสร้าง Mood Board ในเว็บฯ Pinterest ที่เกิดจากการรวบรวมรูปจากหลาย ๆ หมวดหมู่ที่มีการจัดสรรเอาไว้ เป็นต้น
คอนเซ็ปต์ของ Content Curation แพร่หลายมากขึ้นในยุคนี้ แถมยังเหมาะกับนักการตลาดที่ถนัดในการรวบรวมและคัดสรรคอนเทนต์จากหลาย ๆ ที่มากกว่าการสร้างเอง ซึ่งสิ่งนี้ยังนำไปสู่การทำกลยุทธ์ User Curated Content ซึ่งเป็นอีกขั้นของการทำ User Generated Content นั่นเอง
Content Curation ต่างจาก Content Creation อย่างไร?
แม้ชื่อจะคล้ายกันแต่คอนเซ็ปต์ของ Content Curation มีความแตกต่างจาก Content Creation อยู่พอสมควร
อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า Content Curation คือการคัดสรรและรวบรวมคอนเทนต์จากแหล่งต่าง ๆ โดยจะนำมาเผยแพร่อีกครั้งผ่านช่องทางของแบรนด์ ด้วยการนำมาจัดหมวดหมู่ หรือเสนอในคอนเซ็ปต์ใหม่ ซึ่งนักการตลาดไม่จำเป็นต้องสร้างคอนเทนต์นั้นด้วยตัวเองก็ได้
ซึ่งตรงข้ามกับการทำ Content Creation เพราะสิ่งนี้จะเป็นการสร้างสรรค์คอนเทนต์ขึ้นมาเอง หรือที่เรียกว่า Original Content ที่แบรนด์เป็นเจ้าของผลงานอย่างสมบูรณ์ อีกทั้งยังเป็นคอนเทนต์ที่แสดงให้เห็นถึง DNA ของแบรนด์ และช่วยในเรื่องการทำ SEO (Search Engine Optimisation) ในแง่ของการจัดอันดับเว็บไซต์อีกด้วย!
ซึ่งนักการตลาดไม่จำเป็นต้องเลือกคอนเทนต์ประเภทใดประเภทหนึ่งในการทำการตลาดออนไลน์ แต่สามารถทำได้ทั้ง Content Curation และ Content Creation ควบคู่กันไปบนโซเชียลมีเดีย เพราะการมี Content Creation จะช่วยสร้างอัตลักษณ์ให้กับแบรนด์ ทำให้แบรนด์ดูเป็นผู้เชี่ยวชาญในสายตาของผู้บริโภค ส่วนการมี Content Curation ร่วมด้วย ก็จะช่วยสนับสนุนให้ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น และยังดูเป็นผู้นำในอุตสากหรรมนั้น ๆ แต่นักการตลาดอาจต้องมีการวางแผน Content Strategy เพื่อปรับสัดส่วนให้เหมาะสม พร้อมวางวัตถุประสงค์การตลาดให้ชัดเจน เพียงเท่านี้ก็จะได้ผลลัพธ์จากกลุ่มเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพแล้ว
ประโยชน์ของ Content Curation
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้คงจะรู้แล้วว่า Content Curation เป็นกลยุทธ์อีกรูปแบบที่น่าสนใจ แต่ประโยชน์ของการทำ Content Curation ไม่ได้มีเพียงแค่นี้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงข้อดีต่อไปนี้อีกด้วย
1. สร้างแบรนด์ให้น่าเชื่อถือ
การทำ Content Curation ที่เป็นการรวบรวมข้อมูลที่มีความถูกต้องจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการของแบรนด์อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะส่งผลให้แบรนด์ของคุณมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น และหากกลุ่มเป้าหมายของคุณต้องการหาข้อมูลที่ใกล้เคียงกับสินค้าของคุณ แทนที่พวกเขาจะไปหาจากเพจอื่น ๆ พวกเขาจะเลือกเข้ามาในช่องทางของแบรนด์คุณ เพราะเชื่อว่าคุณจะมอบข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นประโยชน์ และช่วยไขข้อสงสัยที่พวกเขาอยากรู้ได้ดีกว่าที่อื่น ๆ
2. ใช้เวลาสร้างคอนเทนต์รวดเร็วกว่า
ทุกวันนี้ ความเร็วเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคนทำคอนเทนต์ออนไลน์ ดังนั้น ถ้าแบรนด์ของคุณต้องการที่จะสื่อสารกับลูกค้าให้เร็วและอยู่เหนือคู่แข่ง การทำ Content Curation ถือว่าตอบโจทย์อย่างมาก เพราะนี่คือการคัดสรรและรวบรวมคอนเทนต์เพื่อนำเสนอใหม่ ดังนั้น จึงประหยัดเวลาได้มากกว่าการสร้างคอนเทนต์ขึ้นมาเอง ทำให้สามารถสร้างคอนเทนต์เพื่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้แบบเรียลไทม์ ที่สำคัญยังช่วยประหยัดงบประมาณอีกด้วย
3. อัปเดตคอนเทนต์ได้ถี่ขึ้น ช่วยให้แบรนด์ดู Active
เนื่องจากการทำ Content Curation ใช้เวลาไม่นาน ซึ่งต่างจากการสร้างออริจินัลคอนเทนต์ จึงเอื้อให้แบรนด์ผลิตคอนเทนต์ออกมาได้จำนวนมากขึ้น และโพสต์ลงช่องทางของตัวเองได้อย่างสม่ำเสมอขึ้น ซึ่งการทำแบบนี้ไม่เพียงแต่จะช่วยให้แบรนด์ป้อนคอนเทนต์ที่สามารถสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายและอยู่ในสายตาของพวกเขาตลอดแล้ว แต่ยังช่วยให้อัลกอริทึมของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียจับได้ถึงความ Active และพยายามโชว์คอนเทนต์ให้กับกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้นด้วย
4. เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ ได้
เมื่อคุณรวบรวมคอนเทนต์จากหลายแหล่งแล้วนำมาเสนอด้วยคอนเซ็ปต์ใหม่ ๆ ผลพลอยได้ที่ตามมาก็คือ คนที่เป็นแฟนของคอนเทนต์นั้น ๆ อยู่แล้ว อาจตามมาที่ช่องทางของคุณด้วยเช่นกัน ซึ่งจะทำให้คุณเข้าถึงลูกค้าใหม่ ๆ ได้มากขึ้น พร้อมช่วยขยายกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่าเดิม ทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้นด้วย
สรุป
Content Curation คืออีกหนึ่งเทคนิคการสร้างคอนเทนต์ที่น่าสนใจสำหรับธุรกิจออนไลน์ เพราะนอกจากจะช่วยให้แบรนด์นำเสนอคอนเทนต์รูปแบบใหม่ที่ต่างออกไปจากความคุ้นชินเดิม ๆ ของกลุ่มเป้าหมายแล้ว การทำ Content Curation ยังช่วยให้เหล่า Content Creator ไม่ต้องทำงานหนักจนเกินไป อีกทั้งยังช่วยประหยัดงบประมาณสำหรับการสร้างคอนเทนต์แบบออริจินัลแบบยกเซ็ตด้วย
แต่ทั้งหมดที่เรากล่าวไป เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น! เพราะเทคนิคการทำ Content Marketing ยังมีอยู่อีกเพียบ แต่ถ้าคุณไม่รู้ว่าเทคนิคไหนจะเหมาะกับการนำมาปรับใช้ในธุรกิจของคุณ สามารถมาปรึกษากับ Primal Digital Agency เอเจนซีการตลาดของเราได้เลย เราคือบริษัทรับทำ SEO ชั้นนำที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดรวมไปถึง Content Marketing รวมกว่า 150 คน ถ้าพร้อมแล้วก็กรอกรายละเอียดเพื่อปรึกษาเราได้เลยตอนนี้!
Join the discussion - 0 Comment