Shopify อีกหนึ่งเครื่องมือสร้างหน้าร้านออนไลน์ E-Commerce ที่ช่วยให้การขายของคุณ สะดวก จัดการง่าย
ธุรกิจในทุกวันนี้ถ้าไม่เขยิบเข้ามาสู่โลกออนไลน์คงมีโอกาสอยู่รอดยากขึ้นมากในระยะยาว ยิ่งเราก้าวเข้าสู่สิ่งที่เรียกกันจนติดปากว่า New Normal แล้วด้วยนั้น ทุกอย่างจะต้องเข้าสู่มือผู้บริโภคได้ทุกที่ ทุกเวลา เพราะคนแทบไม่อยากขยับตัวออกจากบ้านเพื่อไปซื้อของ Shopify จึงเป็นหนึ่งแพลตฟอร์มที่เข้ามาช่วยให้การขายสินค้าหรือบริการบนโลกออนไลน์สะดวกยิ่งขึ้น
เพราะแน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะมีความเชี่ยวชาญไม่ว่าจะเป็นทั้งการสร้างเว็บไซต์ การจัดการระบบหลังบ้านที่ปกติแล้วมีความซับซ้อนอย่างมาก การใช้งานต่างๆ บทความนี้เราจึงหยิบเอาเครื่องมืออย่าง Shopify ในไทยก็ได้รับความสนใจและพ่อค้าแม่ขายหันมาใช้งานกันมากขึ้นมาขยายให้ฟัง หากใครที่กำลังหาช่องทางการขายของบนโลกออนไลน์เพิ่มเติมอยู่ล่ะก็ บทความนี้เหมาะกับคุณอย่างยิ่ง
Table of Contents
Shopify คืออะไร
Shopify คือแพลตฟอร์มสำหรับใช้ในการสร้างร้านค้าออนไลน์หรือเว็บไซต์ E-Commerce แบบสำเร็จรูป โดยจะมีเทมเพลตให้เลือกใช้มากมายหรือจะนำมาต่อยอดปรับแต่งให้เข้ากับสินค้าของตัวเองก็สามารถทำได้ นั่นจึงทำให้มือใหม่ที่ไม่คุ้นเคยกับการเขียนโปรแกรม ทำเว็บไซต์ก็สามารถใช้งานได้
นั่นจึงทำให้ Shopify เป็นที่สนใจอย่างมากจากพ่อค้าแม่ค้าที่ส่วนใหญ่ก็ขายของออนไลน์อยู่แล้ว แต่อาจจะขายใน Social Media หรือระบบ E-Commerce ต่างๆ อย่าง Lazada, Shopee แต่ก็ยังไม่มีเว็บไซต์ที่เป็นชื่อของตัวเอง ทำให้ Shopify คือทางเลือกที่จะทำให้พวกเขามีเว็บไซต์ E-Commerce ที่มีระบบซื้อขายครบจบในที่เดียวได้ด้วย แน่นอนว่าการที่คุณมีหน้าร้านออนไลน์ที่เป็นชื่อของตัวเอง ตัวอย่าง www.yourbrand.com ย่อมสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าได้มากกว่า
Shopify เหมาะกับใคร
คนมักจะบอกว่า Shopify เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็กหรือ SME ไปจนถึงขนาดกลาง แต่จริงๆ แล้ว Shopify คือระบบที่มีการรองรับไปจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่ด้วย โดยจะมีบริการเสริมที่ชื่อว่า Shopify POS Lite และ Shopify POS Pro (ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มจากราคาแพคเกจปกติ) สำหรับการรองรับการขายที่มีสเกลที่ต้องการประสิทธิภาพในการจัดการมากขึ้น
Shopify POS Lite (มีอยู่แล้วในทุกแพคเกจ)
– อัตราค่าธรรมเนียมชำระผ่านบัตรเครดิตที่ 2.4% + 0 เซ็นต์ (0 บาท)
– ระบบรับชำระเงินผ่านโทรศัพท์และอุปกรณ์เสริมต่างๆ
– การจัดการคำสั่งซื้อและสินค้า
– โปรไฟล์ลูกค้า
Shopify POS Pro (จ่ายเพิ่ม $89 หรือประมาณ 6,000 บาทต่อเดือน)
– ใช้งานฟีเจอร์ได้ครบทั้งหมด
– เพิ่มพนักงานร้านค้าได้ไม่จำกัด
– การจัดการสินค้าคงคลังอัจฉริยะ
– กำหนดตำแหน่งและหน้าที่ของพนักงาน
– ระบบลงทะเบียนได้ไม่จำกัด
– ฟีเจอร์การขายหลายช่องทาง
– การวิเคราะห์ร้านค้า
* Shopify POS Pro จะรวมอยู่ในแพคเกจ Shopify Plus
จริงๆ แล้วสองฟีเจอร์ข้างต้นนี้เป็นเพียงบริการเสริมสำหรับการรับชำระเงินและระบบจัดการต่างๆ เท่านั้น หากคุณเป็นธุรกิจขนาดกลาง-ใหญ่ที่มีกำลังขายมากจริงๆ ทาง Shopify ก็มีแพคเกจที่แยกออกมาชื่อว่า Shopify Plus สำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งแพคเกจนี้ก็จะมีราคาที่สูงขึ้นไปอีกขั้น
Shopify Plus
สำหรับแพคเกจนี้จะไม่สามารถคลิกสมัครทางเว็บไซต์ได้ คุณจะต้องทำการติดต่อไปยัง Shopify เพื่อทำการพูดคุยและทำข้อตกลงทางธุรกิจกันอย่างจริงจัง เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ $2,000 หรือประมาณ 63,000 บาท แน่นอนว่า Sopify Plus จึงเหมาะกับแบรนด์ที่มีสินค้าและกำลังในการผลิตจำนวนมากๆ ที่ต้องการระบบจัดการที่ดียิ่งกว่าแพคเกจปกติ โดยนอกจากที่คุณจะได้ใช้ฟีเจอร์ทั้งหมดที่ทาง Shopify มีแล้ว คุณยังสามารถกำหนดบริการ ฟังก์ชั่นการใช้งานรวมถึงฟีเจอร์ต่างๆ ได้ทั้งหมด ขึ้นอยู่กับการตกลงกับทาง Shopify
แต่ถ้าหากคุณเพิ่งจะเริ่มต้นและยังไม่อยากลงทุนไปกับระบบต่างๆ มากมายหรือแม้แต่ยังไม่ได้ต้องการทำหน้าเว็บไซต์จริงจัง เพียงแค่ต้องการเพิ่มความสะดวกและระบบจัดการในการขายเท่านั้น Shopify ก็มีแพคเกจสำหรับผู้เริ่มต้นที่ชื่อว่า Shopify Lite ไว้เป็นทางเลือกสำหรับผู้ประกอบการที่ยังคงขายสินค้าบนเว็บไซต์ต่างๆ และ Social Media อยู่ ซึ่งมีราคาเพียง $9 (ประมาณ 300 บาท) ต่อเดือนเท่านั้น
โดยข้อดีของการใช้ Shopify Lite มีดังนี้
– เพิ่มสินค้าของคุณได้ในทุกเว็บไซต์หรือบล็อก
– เพิ่มปุ่ม Buy Now ใต้ภาพสินค้าเพื่อคลิกสั่งซื้อได้ทันที
– รองรับการชำระผ่านบัตรเครดิตทุกที่ทุกเวลา
– สร้าง Invoice และรับชำระเงินได้
*Shopify Lite สามารถทำงานร่วมกับระบบร้านค้าบน Facebook และแพลตฟอร์มอื่นๆ ได้
จุดเด่นของ Shopify คืออะไร
หากอ่านมาถึงตรงนี้แล้วเริ่มสนใจใน Shopify แล้วว่าน่าจะเป็นหนทางช่วยให้การขายของออนไลน์ของคุณมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นล่ะก็ มาดูกันว่ามีจุดเด่นอะไรที่คุณควรรู้อีกบ้าง
– สามารถมีเว็บไซต์ E-Commerce ของตัวเองได้อย่างง่ายดาย
– มี Theme และ Template สำเร็จรูปให้เลือกใช้
– หากมีเว็บไซต์ที่เป็น WordPress อยู่แล้ว ก็สามารถใช้ Shopify Plugin เพื่อเข้าไปจัดการระบบ E-Commerce ได้
– เชื่อมต่อเข้ากับ Facebook Shop ได้ เพื่อให้ระบบจัดการออเดอร์และซื้อ-ขาย สะดวกยิ่งขึ้น
– มีระบบรับเงินผ่านบัตรเครดิต ช่วยให้ลูกค้าชำระเงินได้อย่างง่ายดาย
– จัดการหลังบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งหมดนี้ยังไม่นับล้วนกับฟังก์ชั่นและฟีเจอร์ต่างๆ ที่จะทำให้คุณสามารถทำงานได้อย่างง่ายดาย เพื่อช่วยให้คุณขายง่ายและลูกค้าก็ซื้อสะดวกซึ่งเข้ากับ New Normal ที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันอย่างมาก ซึ่งทั้งหมดนั้นขึ้นอยู่กับแพคเกจที่คุณเลือกด้วยว่าซื้อแพคเกจไหน
Shopify มีค่าใช้จ่ายอย่างไรบ้าง
ทีนี้หากคุณสนใจที่จะใช้ Shopify แล้วล่ะก็ มาดูราคาแพคเกจกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง
Shopify Lite ค่าใช้จ่ายต่อเดือนอยู่ที่ $9 (ประมาณ 300 บาท)
Basic Shopify ค่าใช้จ่ายต่อเดือนอยู่ที่ $29 (ประมาณ 900 บาท)
Shopify ค่าใช้จ่ายต่อเดือนอยู่ที่ $79 (ประมาณ 2,500 บาท)
Advance Shopify ค่าใช้จ่ายต่อเดือนอยู่ที่ $299 (9,500 บาท)
Shopify Plus ค่าใช้จ่ายต่อเดือน (เริ่มต้นที่ประมาณ $2,000 หรือราว 63,000 บาท)
สามารถทำ Shopify ด้วยตัวเองได้ไหม
แน่นอนว่าคุณสามารถสร้างหน้าร้าน E-Commerce ของตัวเองผ่านระบบ Shopify ได้ โดยสามารถเรียนรู้ได้จากในเว็บไซต์ www.shopify.com เลยหรือจริงๆ ลองเล่นๆ ไปสักพักก็จะสามารถใช้งานได้อย่างเชี่ยวชาญแน่นอน เพราะมันคือระบบสำเร็จรูปที่มีทุกอย่างให้คุณพร้อมแล้ว อีกทั้ง Shopify ยังมีระบบที่รองรับในเรื่องของการทำ SEO ด้วยดังนั้นหากคุณอยากโปรโมทเว็บไซต์ให้ติดอันดับหน้าแรก Google ก็สามารถทำได้ ซึ่งเรื่องนี้เมื่อเริ่มขายของหรือเปิดธุรกิจไปสักระยะ ก็อาจจะลองหาเอเจนซี่การตลาดดิจิทัลที่เชี่ยวชาญในเรื่องของ SEO มาช่วยคุณก็ได้
เพราะการทำธุรกิจในทุกวันนี้เราไม่สามารถปฏิเสธโลกออนไลน์ได้ ดังนั้นหากคิดจะทำแล้วก็ควรทำให้ดีที่สุดเพื่อให้ลูกค้าของคุณสามารถเข้าถึงคุณและซื้อสินค้าได้ง่ายและสะดวกที่สุด เพราะคุณคงไม่อยากจะเจอสถานการณ์อย่างเช่น ลูกค้าจะชำระเงินอยู่แล้ว แต่ทางร้านไม่มีระบบรับชำระบัตรเครดิต ต้องโอนเงินเท่านั้น สิ่งที่จะตามมาก็คือลูกค้าอาจจะไปหาร้านอื่นที่เขามีสินค้าเหมือนกันแต่มีระบบรับชำระที่สะดวกมากกว่าก็ได้ ดังนั้นเรื่องเหล่านี้ Shopify น่าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้เจ้าของธุรกิจพิจารณาดูว่าคุ้มค่าหรือไม่
Join the discussion - 0 Comment