SEO Specialist คืออะไร มีหน้าที่สำคัญในการช่วยธุรกิจอย่างไร

หากถามว่าสมัยนี้งานสายไหนมาแรงที่สุด คงจะไม่พูดถึงงานด้านการตลาดไม่ได้ เพราะทุกธุรกิจต่างก็ต้องสร้างการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness) ด้วยการทำการตลาดอยู่แล้ว และการจะทำให้ประสบความสำเร็จก็ต้องใช้ทีมงานจำนวนมาก ส่งผลให้งานสายการตลาดเป็นที่ต้องการสำหรับเกือบทุกอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่ง Marketing Manager, Content Writer, Graphic Designer, Account Executive หรือแม้แต่ในส่วนของผู้ดูแลเว็บไซต์อย่าง Developer เป็นต้น

ทั้งนี้ มีอีกชื่อตำแหน่งหนึ่งที่บางคนอาจจะยังไม่คุ้นเคยกันเท่าไรนัก เพราะเพิ่งเป็นที่รู้จักในไทยช่วงไม่กี่ปีให้หลังมานี้ ซึ่งก็คือ ตำแหน่งSEO Specialist ผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO หรือ Search Engine Opitimisation ที่มีบทบาทหลักในการช่วยให้เว็บไซต์ติดอันดับต้น ๆ บนหน้าแรกของผลการค้นหา เรียกได้ว่าเป็นตำแหน่งสำคัญที่ธุรกิจออนไลน์ขาดไม่ได้เลยทีเดียว 

ดังนั้น บทความนี้จะพาไปเจาะลึกเกี่ยวกับอาชีพ SEO Specialist สำหรับใครที่กำลังสนใจงานด้านนี้ ไปดูพร้อมกันเลยว่า SEO Specialist คืออะไร มีหน้าที่ทำอะไร และต้องใช้ทักษะใดบ้าง

SEO Specialist เรียนอะไร

SEO Specialist คืออะไร

เชื่อว่าทุกคนที่อ่านบทความนี้อยู่ ต้องรู้จัก SEO (Search Engine Optimisation) กันมาบ้างแล้ว แต่จะขอเท้าความคร่าว ๆ อีกครั้งว่า SEO คือ การปรับปรุงเว็บไซต์ให้ตรงตามเกณฑ์ที่อัลกอริทึมระบุว่าเป็นเว็บไซต์คุณภาพ เพื่อที่จะได้ติดอันดับต้น ๆ บนหน้าแรกของ Google เมื่อมีการค้นหาด้วยคีย์เวิร์ดที่กำหนด รวมถึงมีจำนวนคนเข้าเว็บไซต์เพิ่มขึ้นโดยที่ไม่ต้องซื้อโฆษณา

ดังนั้น SEO Specialist คือ ผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO ที่มีความรู้ด้านการทำเว็บไซต์ให้ติดหน้าแรก เพราะการจะทำ SEO ให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องอาศัยทักษะต่าง ๆ ที่ค่อนข้างเฉพาะทาง ไม่ใช่แค่อ่านตำราแล้วสามารถลงมือทำได้เลย โดย SEO Specialist จะรู้ว่ามีองค์ประกอบใดบ้างที่จำเป็นต่อการปรับปรุงเว็บไซต์ และต้องแก้ไขหรือพัฒนาในส่วนไหนให้เว็บไซต์มีความเฟรนด์ลีต่อทั้งผู้ใช้งานและ Google Bot มากยิ่งขึ้น ทั้งในส่วนของปัจจัยภายในเว็บไซต์ (On-Page SEO) และปัจจัยภายนอกเว็บไซต์ (Off-Page SEO) ด้วยเหตุนี้ หลายธุรกิจไม่ว่าจะในไทยหรือต่างประเทศจึงต้องการตัว SEO Specialist เป็นอย่างมาก เพราะเป็นผู้ที่มีหน้าที่ช่วยเพิ่ม Traffic ให้เว็บไซต์ อันเป็นปัจจัยหลัก ๆ ในการเริ่มต้นสร้างกำไรให้ธุรกิจ

 

หน้าที่ของ SEO Specialist คืออะไรบ้าง

ทำ Keyword Research

หัวใจหลักของการทำ SEO ก็คือคีย์เวิร์ด ดังนั้น หน้าที่ของ SEO Specialist อันดับแรกจึงเป็นการวิเคราะห์คีย์เวิร์ดที่เหมาะสมและเกี่ยวข้องกับธุรกิจนั้น ๆ หรือการทำ Keyword Research โดยกระบวนการนี้จะต้องมีเครื่องมือต่าง ๆ เข้ามาช่วย เช่น Ahrefs เครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์ วางแผน ติดตามผล รวมถึงเป็นแหล่งรวมข้อมูล Insight หลาย ๆ ด้านที่เราควรรู้ หรือ Ubersuggest ที่มุ่งเน้นไปที่การหาคีย์เวิร์ดโดยเฉพาะ โดยตัวเครื่องมือจะช่วยวิเคราะห์เว็บไซต์ของเราแล้วเปรียบเทียบกับคู่แข่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำคอนเทนต์ของเว็บไซต์ให้โดดเด่นและติดอันดับ SEO ได้

ทำ On-Page SEO

อย่างที่เรารู้กันว่าการทำ SEO สามารถแบ่งออกได้เป็นการปรับปรุง SEO ภายในเว็บไซต์และนอกเว็บไซต์ ซึ่งก่อนอื่น SEO Specialist จำเป็นต้องมีทักษะในการปรับปรุงองค์ประกอบต่าง ๆ ภายในเว็บไซต์ก่อน กล่าวคือ การพัฒนาภาพลักษณ์และสร้างเนื้อหาบนเว็บฯ ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่อัลกอริทึมกำหนด ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของหัวข้อเรื่อง (Title) หัวข้อย่อยต่าง ๆ (H1, H2, H3 ฯลฯ) คำอธิบายโดยย่อ (Meta Description) และเนื้อหาหลัก (Content) โดยจะต้องมีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ทำ และแสดงความเชี่ยวชาญในด้านนั้น ๆ ออกไปให้ผู้อ่านและ Google Bot ได้รับรู้ เมื่อเนื้อหาของเราเข้าตาอัลกอริทึมแล้ว เว็บไซต์ของเราก็จะถูกนำไปจัดอันดับได้ไม่ยาก

ทำ Off-Page SEO

หลังจากปรับปรุง SEO ภายในเว็บไซต์แล้ว SEO Specialist ยังมีหน้าที่จัดการองค์ประกอบต่าง ๆ ที่อยู่ภายนอกเว็บไซต์ด้วย เช่น การทำ Link Building หรือ Backlink บนเว็บไซต์อื่นแล้วลิงก์กลับมาที่เว็บไซต์เรา เพื่อให้ Google มองว่าเว็บไซต์เราน่าเชื่อถือ และได้รับความไว้วางใจจากเว็บไซต์อื่น ๆ แต่มีข้อควรระวังที่สำคัญ คือ เว็บไซต์ที่ทำ Backlink ให้เราจะต้องเป็นเว็บไซต์ที่มีคุณภาพและอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกับเรา หากเป็นเว็บไซต์เถื่อนหรือเว็บไซต์ที่ไม่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ของ Search Engine อัลกอริทึมก็จะมองว่าเว็บไซต์เราไม่มีคุณภาพตามไปด้วย ดังนั้น ในส่วนของการทำ Off-Page SEO จึงต้องอาศัยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้าน SEO โดยเฉพาะอย่าง SEO Specialist

ทำ Ranking Checker และ SEO Report

หน้าที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของ SEO Specialist คือ การติดตาม (Tracking) คีย์เวิร์ดที่มีผลต่อยอด Traffic, CTR และ Conversion ต่าง ๆ ว่าในช่วงนั้น ๆ มีคีย์เวิร์ดไหนน่าสนใจ และคีย์เวิร์ดไหนอันดับตก ไม่ควรใช้แล้ว เป็นต้น แล้วนำข้อมูลมาสรุปผลว่าทั้งหมดที่ทำไปนั้นสร้างผลลัพธ์แบบใด ภาพรวมเว็บไซต์ดีขึ้นหรือแย่ลงอย่างไร เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงหน้าที่หลัก ๆ ของ SEO Specialist โดยบางบริษัทอาจจะมีหน้าที่อื่น ๆ ด้วย ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทนั้นแบ่งทีมการทำงานเป็นอย่างไร แต่ไม่ว่าจะที่ไหน ขึ้นชื่อว่า SEO Specialist ก็ต้องประสบกับความท้าทายเดียวกันหมด นั่นคือ การทำให้เว็บไซต์ติดอันดับหนึ่งบน Google รวมถึงสร้าง Traffic ใหม่ ๆ แก่เว็บไซต์ให้ได้ เรียกได้ว่าเป็นทีมสำคัญที่มีผลต่อการสร้างการรับรู้แบรนด์อย่างมากทีเดียว

SEO Specialist มีหน้าที่อะไร

เป็น SEO Specialist ต้องใช้ทักษะอะไรบ้าง

อ่านมาถึงตรงนี้ คงมีคนสนใจอาชีพ SEO Specialist ไม่มากก็น้อย ต้องบอกก่อนว่าตำแหน่งนี้จะว่าง่ายก็ไม่ง่าย จะว่ายากก็ไม่ยาก ไม่ว่าจะจบอะไรมาก็สามารถเข้ามาทำได้ เพียงแค่มีใจรักที่จะเรียนรู้ด้าน SEO และชอบหาประสบการณ์ใหม่ ๆ เพราะในแต่ละวัน SEO Specialist มักได้พบกับโจทย์สนุก ๆ ที่จะเข้ามาเพิ่มความท้าทายให้กับการทำงานของเราเสมอ

แต่ก่อนจะไปสมัครเป็น SEO Specialist เราจำเป็นต้องมีทักษะดังต่อไปนี้เสียก่อน

ทักษะด้านการวิเคราะห์ (Analytical Skill)

อันที่จริง ไม่ใช่แค่ SEO Specialist เท่านั้นที่ต้องมีทักษะนี้ เพราะงานสายการตลาดแทบทุกตำแหน่งล้วนแล้วแต่อาศัยทักษะด้านการวิเคราะห์ทั้งสิ้น เพียงแต่ SEO Specialist อาจต้องใช้มากหน่อย เพราะงานหลักคือการวิเคราะห์คีย์เวิร์ด วิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อนของเว็บไซต์ที่ควรพัฒนาและปรับปรุง รวมถึงเปรียบเทียบข้อมูลต่าง ๆ ระหว่างบริษัทของตนเองและคู่แข่ง แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาตีโจทย์เพื่อทำให้เว็บไซต์ของเราโดดเด่นท่ามกลางอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูงได้

ทักษะด้านการสื่อสาร (Communication Skill)

จากงานวิจัยของ Saleforce พบว่า 85% ของพนักงานและผู้บริหารมักมีปัญหาด้านการสื่อสารที่ไม่ได้เกิดจากไม่มีทักษะ แต่เป็นเพราะคนในองค์กรขาดความร่วมมือกัน ดังนั้น หากเรามีทักษะข้อนี้ก็จะช่วยให้บริษัทอยากรับเราเข้าทำงานมากขึ้น เพราะถือว่าเป็นทักษะที่จำเป็นในการทำงานร่วมกับผู้อื่น อย่าง SEO Specialist ที่จะมีการประสานงานกับทั้งฝ่ายคอนเทนต์และฝ่ายพัฒนาเว็บไซต์ ก็ต้องมีวิธีการพูดคุยและรู้จักการส่งสารต่อไปให้ทีมอื่น ๆ ทำงานต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทักษะภาษา Programming (Programming Language Skill)

ไม่ใช่ว่า SEO Specialist จะหาข้อมูลมา ส่งให้ทีมอื่นทำงานต่อ แล้วก็จบเพียงเท่านั้น เพราะหลังจากที่ทาง Developer ปรับปรุงแก้ไขเว็บไซต์ตามที่บอกแล้ว SEO Specialist ยังต้องไปคอยตรวจสอบด้วยว่าผลลัพธ์เป็นอย่างไร ซึ่งบางทีก็ต้องอาศัยทักษะการอ่านภาษา Programming เช่น HTML หรือ CSS ซึ่งเป็นภาษาพื้นฐานที่เหล่า SEO Specialist ควรรู้ไว้ เพื่อให้การประสานงานเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่ติดขัด

อัปเดตเทร็นด์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ (Trendspotting Skill)

โลกดิจิทัลมีการเปลี่ยนแปลงทุกวัน ดังนั้น การอยู่ในสายงานการตลาดจึงจะมัวแต่นิ่งเฉยไม่ได้ โดยเฉพาะ SEO Specialist ที่ต้องหาคีย์เวิร์ดที่น่าสนใจมาทำคอนเทนต์ และคอยติดตามเทร็นด์อัปเดตของอัลกอริทึมอยู่เสมอ เพื่อให้เว็บไซต์มีความทันสมัย ตรงตามหลักเกณฑ์ที่ Search Engine ต้องการ เพราะการอัปเดตอัลกอริทึมบางครั้งก็ส่งผลต่อเว็บไซต์เรา สิ่งที่เคยทำแล้วดีอาจไม่ดีอีกต่อไปก็ได้ การอัปเดตเทร็นด์ใหม่ ๆ อยู่เสมอจึงถือเป็นการเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นรูปแบบหนึ่ง

 

สรุป

แม้ในประเทศไทย อาชีพ SEO Specialist เพิ่งจะมาถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางเมื่อไม่กี่ปีให้หลังมานี้ แต่สำหรับในต่างประเทศ หรือแม้แต่บริษัทต่างประเทศที่อยู่ในไทยนั้นมีความต้องการตำแหน่งนี้สูงมานานมากแล้ว เพราะไม่ว่าธุรกิจไหน ๆ ก็ต้องการคนมาดูแลเว็บไซต์ให้ขึ้นเป็นอันดับต้น ๆ บนหน้าแรกของการค้นหากันทั้งนั้น เพื่อที่จะได้สร้างทั้งการรับรู้แบรนด์ ทั้งกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ และสร้างทั้งกำไรให้เพิ่มมากขึ้น

กำลังหางานด้านการตลาดอยู่ใช่ไหม หากคุณเป็นคนที่มีทักษะ ความสามารถด้านดิจิทัล และสนใจร่วมงานกับบริษัทการตลาดดิจิทัลที่ดีที่สุดในไทยอย่าง Primal สามารถส่ง Resume ปัง ๆ ของตัวเองมาที่ https://bit.ly/3PCB1TL  หรืออีเมล careers@primal.co.th  ได้เลย

หรือหากคุณเป็นผู้ประกอบการที่กำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญด้านการทำ SEO เราก็ช่วยคุณได้เช่นกัน ! เพราะ Primal คือ SEO Agency ที่ให้บริการแบบครอบคลุม โดยเรามีทีมงาน SEO Specialist มากประสบการณ์ที่พร้อมช่วยให้ธุรกิจของคุณขึ้นไปอยู่บนจุดสูงสุดอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ติดต่อเราได้เลยวันนี้