คนทำเว็บไซต์ต้องรู้! 7 Google Chrome Extensions สำหรับ SEO
แน่นอนว่าโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันคงหนีไม่พ้น Google Chrome เพราะนอกจากจะมีความปลอดภัยสูงแล้ว ยังมีโปรแกรมเสริมมากมายที่จะช่วยให้การทำเว็บไซต์ของเราง่ายขึ้น และที่สำคัญ ยังมีฟังก์ชันที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำ SEO ได้อีกด้วย!
เชื่อว่าหลาย ๆ คนที่ทำธุรกิจออนไลน์คงเคยใช้เครื่องมือหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมต่าง ๆ หรือเครื่องมือวัดผล ฯลฯ ในการทำให้เว็บไซต์ของตนเองให้ติดอันดับหน้าแรกบน Google แต่ก็อาจจะยังไม่ทราบว่าอินเทอร์เน็ตเบราว์เซอร์อย่าง Google Chrome ก็มีฟังก์ชันที่เอื้อประโยชน์ในการทำ SEO เช่นเดียวกัน และฟังก์ชันนั้นก็คือ “Google Chrome Extensions” หรือส่วนขยายของ Chrome นั่นเอง โดยบทความนี้จะพาทุกคนไปรู้จักกับ 7 Chrome Extensions สำหรับ SEO ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นส่วนขยายที่ดีที่สุดในการทำเว็บไซต์
Table of Contents
1. Mozbar
MozBar เป็นเครื่องมือที่เอาไว้เช็กโครงสร้าง On page SEO ส่วนบน (Header) ของเว็บไซต์ เปรียบเหมือนเช็กลิสต์ที่ช่วยตรวจเช็กการเขียน Title, Meta Description ตลอดจน H1 โดยเครื่องมือนี้จะทำให้เราเห็นการเขียน Page Title กับ Meta Description ของเว็บไซต์อื่น ๆ ว่าเป็นอย่างไร เพื่อให้เราวางโครงสร้างการเขียนของตนเองได้ดียิ่งขึ้น โดยมีคุณสมบัติดังนี้
- สามารถสร้างการค้นหาแบบกำหนดเองตามอุปกรณ์ที่ใช้ใน ประเทศ ภูมิภาค หรือเมือง
- สามารถประเมิน Page Authority และ Domain Authority ของเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว
- สามารถเข้าถึงและเปรียบเทียบ Metric Link ในหน้าต่าง ๆ ขณะดู SERP ใด ๆ ได้
- สามารถแยกความแตกต่างของ Backlink ประเภท Follow, NoFollow, Internal หรือ External ได้
- สามารถแสดงองค์ประกอบของหน้าเว็บฯ คุณสมบัติทั่วไป มาร์กอัป รวมถึงสถานะ HTTP
- สามารถส่งออกรายละเอียดการวิเคราะห์หน้าผลลัพธ์ของเครื่องมือค้นหา (SERP) ไปยังไฟล์ CSV ได้
ลิงก์ : Mozbar
2. BuzzSumo
BuzzSumo เป็นส่วนขยายของ Chrome ที่สามารถหาคีย์เวิร์ดที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมักค้นหาบ่อย ๆ เพื่อที่จะได้นำมาปรับมาใช้กับคอนเทนต์ของเราได้ พร้อมทั้งเปรียบเทียบกับคู่แข่งว่าอะไรที่ทำให้คอนเทนต์ของเขาประสบความสำเร็จ และช่วยดูช่องทางที่จะทำให้คอนเทนต์ของเราประสบความสำเร็จได้เช่นกัน
นอกจากนี้ BuzzSumo ยังทำให้เรารู้ผลลัพธ์การมีส่วนร่วม (Engagemant) ของเว็บไซต์บนโซเชียลมีเดียอีกด้วย ดังนี้
- สามารถดูได้ว่าใครแชร์เพจหรือเว็บไซต์ของเราลงบนโซเชียลมีเดีย
- สามารถดูจำนวน Backlink ได้
- สามารถดูได้ว่าคอนเทนต์ใดที่มีคนแชร์มากที่สุด เพื่อให้เราวิเคราะห์ความมีประสิทธิภาพของแต่ละคอนเทนต์
ลิงก์ : BuzzSumo
3. Mangools SEO Extension
อีกหนึ่งเครื่องมือ SEO Tools ที่น่าสนใจสำหรับเจ้าของเว็บไซต์หรือธุรกิจที่มีงบประมาณจำกัด และต้องการหาเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการทำ SEO โดย Mangools จะแสดงตัวชี้วัดต่าง ๆ ที่สำคัญ รวมไปถึงข้อมูลเชิงลึกของเว็บไซต์ได้ ประกอบไปด้วยฟีเจอร์หลัก ๆ ดังนี้
- KWFinder – เครื่องมือในการทำ Keyword Research เพื่อดูว่าเว็บไซต์คู่แข่งมีคีย์เวิร์ดอะไรบ้าง ซึ่งเครื่องมือตัวนี้ได้รับการจัดอันดับว่าเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่แม่นยำที่สุดในบรรดาเครื่องมือการตลาด
- SERPChecker – ฟีเจอร์นี้จะช่วยตรวจสอบได้ว่าคู่แข่งของเราที่ได้อันดับ (Rank) ดี ๆ ในคีย์เวิร์ดที่เราใส่ลงไปนั้น มีสถิติอะไรเท่าไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็น Domain Authority, Backlink และอื่น ๆ อีกมากมาย
- LinkMiner – ฟีเจอร์ที่ช่วยค้นหา Backlink ของเว็บไซต์เราว่ามีจำนวนเท่าไร และมีอะไรบ้าง
- SiteProfiler – ฟีเจอร์ที่ช่วยให้เราตรวจสอบเว็บไซต์ของตนเองและเว็บไซต์คู่แข่งอย่างละเอียด เพื่อให้ทราบถึงจุดอ่อนและจุดแข็งของแต่ละเว็บไซต์ และนำมาพัฒนาเว็บไซต์ของเราให้ดียิ่งขึ้น
ลิงก์ : Mangools SEO Extension
4. NinjaOutreach
Chrome Extensions สำหรับ SEO อีกอันหนึ่งที่ไม่ควรพลาด เพราะเป็นซอฟต์แวร์สำหรับการทำ Outreach Marketing โดยเฉพาะ โดย Ninja Outreach จะช่วยให้เราตามหาอินฟลูเอนเซอร์ในแบบที่เราต้องการได้บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เช่น Instagram, Twitter, YouTube, TikTok ฯลฯ และยังมีระบบที่ช่วยบริหารความสัมพันธ์หรือ CRM กับอินฟลูเอนเซอร์เหล่านั้นอีกด้วย ซึ่งมีคุณสมบัติโดยรวมดังนี้
- ช่วยหาอินฟลูเอนเซอร์บนโซเชียลมีเดีย – โดยเลือกได้ว่าจะหาจากแพลตฟอร์มอะไร ไม่ว่าจะเป็น Instagram, TikTok, Facebook ฯลฯ อีกทั้งยังสามารถระบุ Profile Type ได้ว่าต้องการอินฟลูเอนเซอร์เพศไหน เชื้อชาติใด Engagement Rate หรือยอดผู้ติดตามเท่าไร ตลอดจนสามารถเลือกประเภทของอินฟลูเอนเซอร์ตามความถนัดและความสนใจได้
- Contact Relationship Management – เนื่องจากบางธุรกิจต้องการหาอินฟลูเอนเซอร์จำนวนมาก NinjaOutreach จะช่วยให้เราสามารถจัดเก็บรายชื่อผู้ติดต่อเอาไว้ได้อย่างเป็นระบบ และจัดระเบียบหมวดหมู่ของอินฟลูเอนเซอร์ได้เองตามความเหมาะสม โดยเราสามารถดึงรายชื่อออกมาใช้ได้ทุกเมื่อที่ต้องการ
- Content Template – มีเมนู “Template” เพื่อใช้เขียนคอนเทนต์หรือรายละเอียดเกี่ยวกับงานที่ต้องการให้อินฟลูเอนเซอร์คนนั้น ๆ ทำ เช่น ต้องการให้มาลองใช้ผลิตภัณฑ์ เป็นต้น สามารถสร้างเทมเพลตได้หลายประเภท แล้วยังสามารถส่งข้อความหาอินฟลูเอนเซอร์ได้แบบอัตโนมัติอีกด้วย
- Email Drip Campaign – สามารถวางแผนติดต่ออินฟลูเอนเซอร์ได้อย่างมีกลยุทธ์ ตั้งเวลาในการส่งอีเมลได้ พร้อมทั้งมีตัวเลขรายงานอัตราการเปิดอีเมล อัตราการตอบกลับ แล้วยังตรวจเช็กได้อีกด้วยว่ามีอีเมลตกหล่นหรือไม่
- Inbox – อินฟลูเอนเซอร์คนไหนเคยเปิดอ่านอีเมลหรือตอบกลับมา ก็จะปรากฎในหน้า Inbox ของอีเมล
ลิงก์ : NinjaOutreach
5. Ahrefs
Afrefs เป็น Chrome Extensions สำหรับ SEO ที่ได้รับความนิยมมาก เพราะเป็นเครื่องมือที่มีศักยภาพแบบ All-in-one โดยสามารถแบ่งฟีเจอร์ออกเป็น 5 ส่วน ดังนี้
- Site Audit – ฟีเจอร์นี้จะช่วยตรวจสอบเว็บไซต์ในด้านต่าง ๆ เพื่อดูว่าการทำ SEO ของเรานั้นมีประสิทธิภาพมากพอแล้วหรือยัง โดยเราจะทราบข้อมูลว่าส่วนไหนของเว็บไซต์ที่ทำให้เรายังไม่สามารถ Rank ได้อย่างที่ควรจะเป็น เช่น ขาด H1 หรือหน้าเว็บฯ ขาด UX/UI ที่ดีหรือไม่ เป็นต้น
- Site Explorer – เครื่องมือนี้ช่วยเจาะลึกข้อมูลต่าง ๆ ของโดเมนใดโดเมนหนึ่ง โดยจะเป็นเว็บไซต์ของคู่แข่งหรือเว็บฯ เราเองก็ได้ ประกอบไปด้วย Organic Traffic Research ดูว่า Organic Traffic ส่วนมากมาจากที่ไหนบ้าง, Backlink Checker ตรวจสอบว่าโดเมนนั้น ๆ มี Backlink เท่าไรและมีอะไรบ้าง และ Paid Traffic Research ตรวจสอบว่าเว็บไซต์คู่แข่งใช้โฆษณาแบบ PPC หรือไม่ รวมถึงส่ง Traffic ไปที่ Landing Page อย่างไร
- Keyword Explorer – เป็นฟีเจอร์ที่เด่นมากของ Afrefs คือการช่วยหาคีย์เวิร์ดอย่างละเอียด และให้ข้อมูลที่สำคัญ เช่น Volume, Clicks, CPC, Difficulty ตลอดจน Keyword Ideas อีกนับพันคำ ทั้งในรูปแบบของ Questions และ Phrase Match
- Rank Tracker – ไม่ว่าคนทำเว็บไซต์คนไหนต่างก็ต้องการจะรู้ว่าในแต่ละวัน Ranking ของเว็บฯ เราในหน้าการค้นหาเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง ซึ่งเครื่องมือนี้จะช่วยติดตาม Ranking เว็บไซต์ได้โดยละเอียด
- Content Explorer – เครื่องมือ SEO ที่จะช่วยเราหาคอนเทนต์ที่มีประสิทธิภาพสูงใน Niche ของตนเอง เพื่อที่เราจะได้สร้างคอนเทนต์ในส่วนดังกล่าวได้
ลิงก์ : Ahrefs
6. SimilarWeb
Similar Web เป็นส่วนขยายที่ช่วยตรวจสอบการเข้าชมเว็บไซต์ โดยเราสามารถดูตัวชี้วัดที่สำคัญได้ ไม่ว่าจะเป็นอัตราการมีส่วนร่วมในหน้าเว็บฯ การจัดอันดับการเข้าชม การจัดอันดับคีย์เวิร์ด ตลอดจนแหล่งที่มาของจำนวนผู้เข้าชม ประกอบไปด้วย 4 ฟีเจอร์หลัก ดังนี้
- Website Performance – สามารถดูข้อมูลเว็บไซต์อื่น ๆ ได้ โดยจะเห็นข้อมูลการเข้าถึงเว็บไซต์ย้อนหลัง 3 เดือน ไม่ว่าจะเป็น Channel, Geography, Search Traffic และที่สำคัญ ยังสามารถดูคู่แข่งของเว็บไซต์อื่นได้อีกด้วย
- Search Traffic – ในส่วนนี้ เราสามารถดูข้อมูล Search Traffic บนเว็บไซต์ได้ทั้งแบบ Organic และแบบ Paid เพื่อให้รู้ว่าเว็บไซต์อื่นมีกลยุทธ์อย่างไร และสามารถวางแผนในการแข่งขันกับธุรกิจอื่น ๆ ได้
- Keyword Analysis – เราสามารถทำ Keyword Research บน SimilarWeb ได้ ไม่ว่าจะเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ
- Web Category Analysis – ฟีเจอร์นี้เป็นตัวช่วยวิเคราะห์ธุรกิจแต่ละอุตสาหกรรมว่ามี Performance เป็นอย่างไร โดยจะให้ข้อมูลที่น่าสนใจ เช่น เว็บไซต์ใดมีผู้เข้าชมมากที่สุด จำนวนการเข้าชมเท่าไร เข้าชมผ่านอุปกรณ์อะไร ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการนำมาวางแผนและประยุกต์ใช้กับการทำ Online Marketing ของธุรกิจตนเองได้ เป็นฟีเจอร์เหมาะอย่างยิ่งกับธุรกิจเอเจนซี เพราะจะช่วยให้ลูกค้าเข้าใจภาพรวมของอุตสาหกรรมและคู่แข่งเป็นอย่างดี
ลิงก์ : SimilarWeb
7. SEMRush
ถ้าจะให้พูดถึงเครื่องมือ SEO ที่พลาดไม่ได้มากที่สุดก็คงจะไม่พ้น SEMRush ซึ่งเป็นส่วนขยายของ Chrome ที่มีฟีเจอร์เยอะแยะมากมายและเต็มไปด้วยคุณภาพที่อยู่ในระดับต้น ๆ ของการทำ SEO แต่ด้วยความที่มีประสิทธิภาพสูงมาก ก็เป็นธรรมดาที่จะมีราคาค่าใช้งานที่สูงตามไปด้วยเช่นกัน เพราะการที่เราจะใช้งาน SEMRush ได้นั้น แปลว่าเราจะต้องลงทุนด้วยเงินก้อนใหญ่พอสมควร แต่ต้องบอกว่าสิ่งที่ได้กลับมาจะคุ้มค่า คุ้มราคาแน่นอน โดยฟีเจอร์ของ SEMRush มีดังนี้
- Domain Analytics – ฟีเจอร์นี้เรียกได้ว่าเป็นฟีเจอร์หลักของ SEMRush เลยก็ว่าได้ เพราะเราจะสามารถทำ Research ในส่วนของโดเมน ทั้งในเว็บไซต์เราเองและเว็บไซต์อื่น ๆ ว่ามี Authority เท่าไร มี Backlink เท่าไร และมีอะไรบ้าง รวมไปถึงแนวโน้มของ Traffic ว่าเป็นอย่างไร เพื่อจะได้ปรับแก้ให้การทำ SEO ของตนเองเห็นผลมากยิ่งขึ้น
- Keyword Research – เป็นฟีเจอร์ที่คล้าย ๆ กับส่วนขยายอันอื่น ๆ แต่สำหรับ SEMRush นั้น ถือเป็น Keyword Explorer ที่ยอดเยี่ยมเป็นอันดับแรก ๆ ที่คนนึกถึง เพราะข้อมูลที่ได้จะละเอียดมาก ไม่ว่าจะเป็น CPC, Trend, Monthly Volume ฯลฯ และอื่น ๆ อีกมากมายจากทุกซอกทุกมุมของเว็บฯ
- Rank Tracking – ในส่วนนี้มีไว้เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลง Ranking ของเว็บฯ และทาง SEMRush จะมีแจ้งเตือนด้วยถ้าหากว่าเว็บไซต์เรามีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ
- Site Audit – ฟีเจอร์นี้ช่วยตรวจสอบว่าเว็บไซต์มีข้อผิดพลาด (Error) ตรงส่วนไหนหรือไม่ เช่น Broken Links (404 Error) เพื่อที่เราจะได้แก้ไขให้ทันท่วงที และทำให้มี UX หรือ User Experience ที่ดีขึ้น ซึ่งช่วยในการทำ SEO เป็นอย่างมาก
- On Page SEO Checker – สามารถดูได้ว่าคอนเทนต์หรือบทความที่เขียนนั้นดีพอแล้วหรือยัง หรือมีตรงไหนที่ควรปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มโอกาสในการ Ranking ให้มากขึ้น
- Backlink Analytics – ช่วยตรวจสอบและรายงานข้อมูลของ Backlink โดยละเอียด ซึ่งจะช่วยในการทำ Off-page SEO
- PCP Advertising Toolkit – ช่วยอำนวยความสะดวกในการโฆษณาผ่าน Google Ads ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจตลาด (Market Research), Keyword Gap หรือแม้กระทั่งเครื่องมือที่ใช้หาคีย์เวิร์ดที่เว็บไซต์อื่นใช้งานอยู่
- Content Marketing Platform – ฟีเจอร์นี้เป็นเครื่องมือพิเศษที่ช่วยในการสร้างคอนเทนต์ดี ๆ บนเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดีย โดย SEMRush จะช่วยหาหัวข้อที่น่าสนใจมาเขียนเป็นบทความ และเตรียมข้อมูลต่าง ๆ มาให้เรียบร้อยเพื่อประสิทธิภาพในการทำ SEO Writing และยังสามารถเช็กในส่วนของการคัดลอกผลงาน (Plagiarism) ได้อัตโนมัติอีกด้วย
- Competitive Intelligence – ฟีเจอร์ระดับพรีเมียมที่ช่วยสำรวจตลาดคู่แข่งอย่างละเอียดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยข้อมูลทุกอย่างจะถูกส่งตรงมาให้อ่านอย่างสะดวกสบายผ่านทางแพลตฟอร์มของ SEMRush
ลิงก์ : SEMRush
สรุป
Google Chrome Extensions สำหรับ SEO ทั้ง 7 ตัวข้างต้นนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่คัดมาแล้วว่าคนทำเว็บไซต์นิยมใช้และเห็นผลจริง แต่อย่างไรก็ตาม การใช้ส่วนขยายเหล่านี้ก็มีข้อควรระมัดระวังอยู่ด้วย กล่าวคือ ส่วนขยายแต่ละตัวจะสามารถดึงทรัพยากรจากเครื่องเราได้มากกว่าปกติ ดังนั้นจึงควรใช้ด้วยความรอบคอบเสมอ
แต่ถ้าหากต้องการทำ SEO แบบไม่ต้องลงมือลงแรงด้วยตัวเอง ทาง Primal ก็มีผู้เชี่ยวชาญที่จะช่วยให้เว็บไซต์คุณติดหน้าแรกบน Google อันจะนำมาซึ่งการเพิ่มยอดขายที่มากกว่าเดิม ไม่ว่าธุรกิจของคุณจะอยู่ในอุตสาหกรรมไหนก็ตาม
Join the discussion - 0 Comment