Unique Selling Point คืออะไร? วิธีดันธุรกิจให้เหนือคู่แข่ง

ในยุคสมัยที่ธุรกิจออนไลน์เฟื่องฟู  และการรับทำการตลาดเต็มไปด้วยการแข่งขันที่รุนแรง การจะอยู่รอดและเติบโต ธุรกิจจำเป็นต้องมีจุดยืนที่ชัดเจนและแตกต่าง

ทั้งนี้ Unique Selling Point (USP) ก็เปรียบเสมือนอาวุธลับที่ช่วยให้ธุรกิจเติบโตเหนือคู่แข่ง เพราะนอกจากจะช่วยสร้างจุดขายที่ไม่เหมือนใครแล้ว USP ที่ดียังเป็นตัวช่วยดึงดูดลูกค้า พร้อมสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ซึ่งนำไปสู่การเติบโตของธุรกิจในระยะยาวได้

บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักว่า Unique Selling Point (USP) คืออะไร พร้อมแนะนำเทคนิคการสร้าง USP ที่ดีที่จะทำให้ธุรกิจของคุณเติบโตเหนือคู่แข่ง จนพวกเขาไล่ตามไม่ทัน!

 

Unique Selling Point คือการสร้างจุดขายเพื่อดึงดูดลูกค้า และสร้างความโดดเด่นเหนือคู่แข่ง

Table of Contents

Unique Selling Point (USP) คืออะไร ?

Unique Selling Point (USP) หรือจุดขายที่ไม่เหมือนใคร หมายถึง คุณสมบัติหรือประโยชน์ที่สินค้าหรือบริการของคุณมีเหนือกว่าคู่แข่งในตลาด เป็นสิ่งที่ทำให้ลูกค้าเลือกซื้อสินค้าหรือบริการของคุณ แทนที่จะซื้อจากคู่แข่งอื่น

ตัวอย่าง USP เช่น

  • ร้านอาหารที่เสิร์ฟอาหารไทยต้นตำรับ โดยใช้ผักสดจากฟาร์มของตัวเอง
  • ร้านขายเสื้อผ้าที่ออกแบบและผลิตเอง ไม่เหมือนใคร
  • บริษัททัวร์ที่ให้บริการนำเที่ยวแบบส่วนตัว ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า

องค์ประกอบที่สำคัญของการทำ USP Marketing

การสร้าง Unique Selling Point (USP) ที่ดีควรมีคุณสมบัติดังนี้

  • ความมีเอกลักษณ์

สินค้าหรือบริการต้องมีจุดเด่นไม่เหมือนใครและไม่ซ้ำกับคู่แข่ง อาจจะเป็นคุณสมบัติของสินค้า เทคโนโลยี การออกแบบ บริการหลังการขาย หรือกลยุทธ์การตลาด

  • คุณค่าตอบโจทย์ลูกค้า

สินค้าหรือบริการต้องตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า แก้ปัญหา หรือสร้างประโยชน์ ทำให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป

  • การดึงดูดทางอารมณ์

USP ควรต้องสามารถดึงดูดความสนใจและสร้างความรู้สึกอยากลองให้กับลูกค้า อาจจะใช้เรื่องราว อารมณ์ขัน หรือภาพลักษณ์ที่น่าดึงดูดเพื่อใช้เป็นกลยุทธ์ในการกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึก เช่น การใช้กลยุทธ์เช่น FOMO (Fear of Missing out) หรือ Emotional Marketing

  • นำเสนอสิ่งที่ลูกค้าสนใจ

USP ต้องเกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมาย ตรงกับความต้องการและปัญหาของพวกเขา และไม่ควรนำเสนอสิ่งที่ลูกค้าไม่สนใจ

  • ความชัดเจนและรัดกุม

USP ต้องสื่อสารได้อย่างชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน ทำให้ลูกค้าเข้าใจได้ทันทีว่าสินค้าหรือบริการมีจุดเด่นอะไร

  • ความน่าเชื่อถือและความถูกต้อง

แม้ USP จะโดดเด่นแค่ไหน สิ่งสำคัญคือต้องเป็นความจริง พิสูจน์ได้ ไม่โม้โอ้อวดและไม่ใช่การโฆษณาเกินจริง

 

ประเภทของ Unique Selling Point (USP)

USP สามารถทำได้หลายรูปแบบ โดยเราขอรวบรวมวิธีการชูจุดขายที่น่าสนใจใน 6 ประเภทหลัก ๆ คือ

  • เน้นคุณสมบัติ: เน้นคุณสมบัติเฉพาะตัวของสินค้าหรือบริการที่คู่แข่งไม่มีหรือมีน้อยราย ประเภทนี้จะเหมาะกับสินค้าที่มีเทคโนโลยีล้ำสมัย การออกแบบที่ไม่เหมือนใครหรือใช้วัสดุพิเศษ เช่น สมาร์ตโฟนที่มีกล้องถ่ายรูปความละเอียดสูง ฯลฯ
  • เน้นประโยชน์: เน้นประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ เหมาะกับสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และการนำไปช่วยแก้ปัญหา หรือสร้างประโยชน์ให้กับพวกเขา เช่น  ยาแก้ปวดที่ออกฤทธิ์เร็วและยาวนาน ฯลฯ
  • เน้นราคา: เน้นราคาที่คุ้มค่า เหมาะกับกลุ่มลูกค้าที่มองหาสินค้าราคาไม่แพง เช่น ร้านขายเสื้อผ้าที่จัดโปรโมชันลดราคา
  • เน้นบริการ: เน้นบริการเหนือระดับ สร้างความประทับใจให้กับลูกค้า เหมาะกับธุรกิจที่ให้บริการ เช่น ร้านอาหาร โรงแรม สายการบิน
  • เน้นการรับประกัน: เน้นการรับประกันเพื่อสร้างความมั่นใจให้ลูกค้า เหมาะกับสินค้าที่มีราคาสูง หรือสินค้าที่ต้องการความมั่นใจในคุณภาพ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการรับประกัน 1 ปี

ข้อดีของการทำ Unique Selling Points (USP) ทำไมธุรกิจควรใช้กลยุทธ์นี้ ?

           การทำ USP Marketing ช่วยต่อยอดให้ธุรกิจเติบโตได้หลายลักษณะ โดยข้อดีหลัก ๆ มีดังนี้

  • ดึงดูดลูกค้า

USP เปรียบเสมือนแม่เหล็กที่ดึงดูดความสนใจท่ามกลางตลาดที่เต็มไปด้วยคู่แข่ง โดยจุดขายที่ดีจะทำให้ลูกค้าหยุดมอง สนใจ และอยากทดลองใช้สินค้าหรือบริการ

  • สร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง

ในยุคสมัยที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน สินค้าและบริการมากมายในตลาดล้วนมีจุดเด่นและข้อเสนอที่คล้ายคลึงกัน การสร้าง USP จึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความแตกต่าง ที่จะช่วยดึงดูดลูกค้า และสร้างการจดจำต่อแบรนด์ได้

  • เพิ่มโอกาสในการขาย

เมื่อลูกค้าเห็นจุดขาย ก็จะสัมผัสได้ถึงความแตกต่างและคุณค่าของสินค้าหรือบริการ ทำให้เพิ่มโอกาสที่ลูกค้าจะตัดสินใจซื้อมากขึ้น

  • สร้างฐานลูกค้าที่ภักดี

เมื่อลูกค้าเห็นคุณค่าและประโยชน์ของสินค้าจากการสร้าง Unique Selling Point ยังจะทำให้พวกเขามีโอกาสที่จะกลับมาซื้อซ้ำ บอกต่อ และแนะนำแบรนด์ให้กับคนอื่น นำไปสู่การรักษาฐานลูกค้าเก่าและดึงดูดลูกค้าใหม่ที่มีประสิทธิภาพ

  • เพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจ

USP ที่ดีจะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจ ผลดีในระยะสั้นก็คือคุณสามารถตั้งราคาสินค้าให้สูงขึ้น ส่วนผลลัพธ์ในระยะยาวก็คือ ธุรกิจจะมีมูลค่าในสายตาลูกค้าและตลาด ทำให้กลายเป็นแบรนด์ Top of Mind ที่ลูกค้ามองหาก่อนคู่แข่ง ช่วยเพิ่มโอกาสเติบโตทั้งรายได้และกำไรในระยะยาว

 

ข้อควรระวังในการสร้าง Unique Selling Points (USP)

การทำ USP Marketing ก็มีข้อควรระวังที่นักการตลาดต้องให้ความสำคัญด้วยเช่นกัน  

  • USP ที่ไม่จริง: หลีกเลี่ยงการโอ้อวดหรือกล่าวอ้างคุณสมบัติเกินจริง ระวังการใช้คำพูดคลุมเครือและนำเสนอข้อมูลที่มีหลักฐานสนับสนุนเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ
  • USP ที่ไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้า: ศึกษาและวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย ทำความเข้าใจความต้องการ ปัญหา เพื่อนำเสนอ USP ที่ตอบสนองความต้องการ
  • USP ที่ไม่แตกต่าง: ศึกษา USP ของคู่แข่งเพื่อหาจุดเด่นที่แตกต่าง และหลีกเลี่ยงการลอกเลียนแบบ
  • USP ที่สื่อสารไม่ชัดเจน: ควรนำเสนอ USP ที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์เทคนิคหรือภาษาที่ซับซ้อน
  • USP ที่ไม่ยืดหยุ่น: ไม่ควรยึดติดกับ USP เดิม และเตรียมพร้อมปรับเปลี่ยน USP ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ความต้องการของลูกค้า และสภาพตลาด รวมถึงควรตรวจสอบและประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ

 

วิธีการค้นหา Unique Selling Points (USP)

         เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนคงรู้แล้วว่าการทำ USP Marketing มีข้อดีมากกว่าที่คิด สำหรับใครที่เป็นมือใหม่แล้วอยากลองสร้าง USP ให้ธุรกิจของตนเองบ้าง เราก็มี 6 ขั้นตอนการทำ USP แบบง่าย ๆ มาฝาก  

  • ทำความเข้าใจธุรกิจ

วิเคราะห์สินค้าหรือบริการ โดยระบุจุดเด่น จุดด้อย คุณสมบัติพิเศษ ประโยชน์ และความแตกต่าง รวมถึงกำหนดกลุ่มเป้าหมายหลัก ศึกษาภาพลักษณ์และจุดยืนของแบรนด์ที่แน่ชัด

  • ทำความเข้าใจลูกค้า

วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า ศึกษาข้อมูลการซื้อและความพึงพอใจ และไม่ลืมสัมภาษณ์ หรือทำแบบสอบถามกับลูกค้า เพื่อเข้าใจความต้องการและความคาดหวัง

  • วิเคราะห์คู่แข่งของคุณ

ศึกษาสินค้าหรือบริการของคู่แข่ง ระบุจุดเด่น จุดด้อย กลยุทธ์ และราคา วิเคราะห์ช่องทางการจำหน่าย กลยุทธ์การสื่อสาร พร้อมระบุจุดแตกต่าง เพื่อหาสิ่งที่เราต้องการนำเสนอ

  • ระดมความคิดและคัดกรองสิ่งที่สำคัญที่สุด

รวบรวมข้อมูลและคัดกรองไอเดีย ทั้งนี้ต้องไม่ลืมพิจารณาความยั่งยืน ความเป็นไปได้ ทรัพยากร และต้นทุนที่ธุรกิจมีด้วย!

  • พัฒนา USP ของคุณ

เมื่อรวบรวมไอเดียทั้งหมดแล้ว ให้เลือก USP ที่ตอบโจทย์ธุรกิจที่สุด ค่อย ๆ วางแผนพัฒนาจุดขายนี้ให้สอดคล้องกับจุดยืนของแบรนด์ พร้อมออกแบบสโลแกนหรือโลโก้เพื่อสร้างความน่าสนใจ

 

เคล็ดลับสร้าง Unique Selling Point ให้ธุรกิจเหนือคู่แข่ง!

สำหรับใครที่อยากสร้าง USP ให้โดดเด่น เรามีทริคง่าย ๆ ที่ช่วยให้จุดขายของคุณแข็งแรงขึ้น ดังนี้ 

  • ค้นหา Pain Points ของลูกค้า

เริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจถึงปัญหา อุปสรรค หรือความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า วิเคราะห์ว่าลูกค้ากำลังเผชิญกับอะไร อะไรคือสิ่งที่พวกเขากำลังมองหา และค้นหาจุดที่สินค้าหรือบริการของคุณสามารถตอบสนองความต้องการเหล่านั้นได้

  • เน้นเอกลักษณ์หรือประโยชน์

มองหาสิ่งที่ทำให้สินค้าหรือบริการของเราแตกต่างจากคู่แข่ง อาจจะเป็นคุณสมบัติพิเศษ เทคโนโลยีที่ล้ำสมัย การออกแบบที่ไม่เหมือนใคร หรือบริการที่เหนือระดับ และไม่ลืมที่จะเน้นย้ำประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับจากจุดเด่นเหล่านี้

  • ตลาด Niche สำคัญกว่าที่คิด

แทนที่จะพยายามแข่งขันในตลาดใหญ่ ลองมองหาตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) มุ่งเน้นไปที่กลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการเฉพาะเจาะจง นำเสนอสินค้าหรือบริการที่ตรงจุด เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงใจ

  • มอบบริการที่ดีที่สุด

มอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าในทุก ๆ จุดสัมผัส (Touch Point) ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน และตอบคำถามลูกค้าอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความประทับใจและความภักดีต่อแบรนด์

  • ให้ความสำคัญกับการแข่งขันทางราคาหรือคุณค่า

พิจารณาว่ากลยุทธ์การแข่งขันของคุณจะเน้นไปที่ราคาหรือคุณค่า หากเน้นที่ราคา สินค้าจะต้องมีราคาที่แข่งขันได้ แต่หากเน้นคุณค่า จะต้องมุ่งเน้นไปที่การนำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพสูง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างแท้จริง

  • สื่อสาร USP ให้มีประสิทธิภาพ

แจ้งให้ลูกค้าทราบถึงจุดขายที่ไม่เหมือนใครของธุรกิจ โดยสื่อสาร USP ของคุณผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย โฆษณา ประชาสัมพันธ์ รวมถึงเน้นย้ำประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับจาก USP ที่เราสื่อสารไป

 

เครื่องมือวิเคราะห์ USP ยอดนิยม!

         ทั้งนี้ การทำ USP Marketing ยังสามารถใช้เครื่องมือต่าง ๆ เข้ามาเป็นตัวช่วย เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ เช่น

  • SWOT analysis: ใช้วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของธุรกิจ
  • Customer journey map: ใช้วิเคราะห์เส้นทางการซื้อของลูกค้า (Customer Journey)
  • Competitive analysis: ใช้วิเคราะห์คู่แข่งในตลาด เพื่อเปรียบเทียบและค้นหาจุดที่ธุรกิจสามารถแตกต่างและสร้าง USP
  • Value proposition canvas: ใช้ระบุคุณค่า (Value) ที่ธุรกิจสามารถนำเสนอให้กับลูกค้า
  • Customer feedback: ใช้เก็บรวบรวมความคิดเห็น (Feedback) จากลูกค้า เพื่อพัฒนา USP ที่ตรงกับความต้องการและความคาดหวัง

นักการตลาดกำลังวางแผนสร้าง USP เพื่อสร้างจุดขายและดึงดูดลูกค้า

สรุป

การสร้าง USP ที่ใช่ เปรียบเสมือนการสร้าง DNA ของแบรนด์ที่ช่วยปลดล็อกการเติบโตของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ถ้าคิดว่าธุรกิจของคุณยังไม่มีจุดขายหรือ USP ที่แข็งแรงพอ ก็สามารถปรึกษา Primal Digital Agency ของเราได้เลย เราคือเอเจนซีรับทำการตลาดออนไลน์ ที่มีทีมวิเคราะห์และออกแบบกลยุทธ์ พร้อมช่วยสร้างจุดขายให้ธุรกิจของคุณโดยเฉพาะ อย่ารอช้า กรอกรายละเอียดและเติบโตไปพร้อมกับเราได้เลย ตอนนี้!