Nostalgia marketing คืออะไร ช่วยให้ผลลัพธ์ทางธุรกิจดีขึ้นได้อย่างไร
โลกหมุนเร็วขึ้นทุกวัน เทคโนโลยีก็ก้าวล้ำแบบไม่คอยใคร ทำให้บางครั้งก็สร้างความรู้สึกให้ผู้คนคิดถึงความสุขในอดีต ไม่ว่าจะเป็นการคิดถึงความทรงจำในวัยเด็กที่มีการใช้สิ่งของที่เราคุ้นเคย ทั้งรูปถ่ายจากกล้องฟิล์มที่ถ่ายซ้ำไม่ได้ เทปคลาสเซ็ทจากศิลปินคนโปรด หรือแม้แต่โมเม้นการใช้โทรศัพท์มือถือแบบปุ่มกดที่ล้วนแล้วแต่ตราตรึงและหวนให้พวกเขาคิดถึงวันวานอยู่เสมอ
ด้วยวิธีนำเรื่องราว (Story) มาผูกเข้ากับสิ่งของในยุคอนาล็อก แล้วนำเสนอเชื่อมโยงกับยุคดิจิทัลในช่วงเวลาที่ผู้คนกำลังคิดถึงวันวาน สิ่งเหล่านี้ทำให้ Nostalgia Marketing หรือเทรนด์การตลาดที่ชวนถวิลหาอดีต ถือกำเนิดขึ้น! ดังนั้น วันนี้เราจึงอยากพาทุกคนไปรู้จักกลยุทธ์นี้ เผื่อว่าใครจะได้ไอเดียดี ๆ ที่สามารถนำไปต่อยอดทางการตลาดในธุรกิจของตัวเองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้
Table of Contents
Nostalgia marketing คืออะไร?
Nostalgia Marketing หรือการตลาดที่ชวนถวิลหาอดีต คือกลยุทธ์ที่มีวิธีคิดว่าด้วยการหยิบจับสิ่งที่ผู้คนเคยผูกพันในอดีต มานำเสนอให้กับผู้บริโภคยุคปัจจุบัน เพื่อสร้างความประทับใจให้พวกเขารู้สึกเหมือนได้กลับไปสัมผัสกับช่วงเวลาดี ๆ เหล่านั้นอีกครั้ง หรือถ้าพูดง่าย ๆ ก็คือแบรนด์จะนำสิ่งที่ลูกค้าโหยหา คิดถึง หรือเคยผูกพันอยู่แล้วกลับมานำเสนอใหม่ เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกอยากครอบครองความทรงจำอันน่าประทับใจในอดีตอีกครั้งหนึ่ง
การนำเรื่องราวมาผูกเข้ากับความประทับใจในยุคอนาล็อกอาจโดนใจกลุ่มเป้าหมายหลัก ๆ อย่างกลุ่มคน Gen Y กลุ่ม Millennials และกลุ่ม Baby Boomer อย่างมาก เนื่องจากพวกเขาใช้ชีวิตอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างยุคอนาล็อคกับดิจิทัลพอดี จึงมักมีความทรงจำหรือความรู้สึกร่วมกับของเก่ามากกว่าเด็ก ๆ ยุคใหม่ หรือถ้าจะพูดง่าย ๆ ก็คือถึงแม้ตัวอยู่ปัจจุบัน แต่มีคลังความทรงจำดี ๆ ในยุคอดีตให้หวนคิดถึงอยู่มากมาย
Nostalgia Marketing ช่วยให้ผลลัพธ์ทางธุรกิจดีขึ้นได้อย่างไร?
จริง ๆ แล้ว Nostalgia marketing คือกลยุทธ์ที่เข้าถึงคนได้ทุกรูปแบบไม่ใช่เฉพาะกลุ่มคน Gen Y, Millennials และ Baby Boomer เท่านั้น ดังจะเห็นได้จากผลงานวิจัยของวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ที่มีการสำรวจผู้คนจำนวน 900 คน แล้วพบว่ากว่า 91.4% ของคนหลายวัยก็เห็นถึงคุณค่าของความทรงจำและโหยหาอดีตอยู่บ่อยครั้งเช่นกัน
นอกจากนี้ Nostalgia Marketing ยังสอดคล้องกับแนวคิดจิตวิทยาที่ชื่อว่า Coping Skill ที่ว่าด้วยวิธีจัดการความเครียดผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งแน่นอนว่าผู้คนส่วนใหญ่ก็เลือกใช้การคิดถึงช่วงเวลาแห่งความสุขในอดีต เป็นวิธียอดนิยมในการจัดการความเครียดอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม เหตุผลที่หลายธุรกิจเลือกใช้ Nostalgia Marketing ทำการตลาดไม่ได้มีเพียงเท่านี้ แต่ยังมีเหตุผลอื่น ๆ ดังนี้
1. ช่วยให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกถึงความสบายใจ
ความคิดถึงเป็นมวลความรู้สึกที่ช่วยบรรเทาความเหงาและความเครียดได้ดี ดังนั้นการทำสินค้าให้ลูกค้าหวนนึกถึงอดีตที่เคยมีความสุขก็จะช่วยให้พวกเขารู้สึกถึงความสบายใจต่อแบรนด์และสินค้านั้น ๆ ได้ ซึ่งความรู้สึกสบายใจนี้ยังจะนำไปสู่ผลลัพธ์ทางการตลาดอีกมากมาย ไม่ว่าจะความรู้สึกอยากได้และจับจ่ายสินค้าของแบรนด์ ความรู้สึกประทับใจในความใส่ใจของแบรนด์ รวมถึงความผูกพันที่เพิ่มขึ้น จากการที่แบรนด์ใช้กลยุทธ์ทางความรู้สึกนี้ด้วย
2. เพิ่มพฤติกรรมการมีส่วนร่วมจากลูกค้าได้
การใช้ Nostalgia Marketing ยังช่วยเพิ่มยอด Engagement จากลูกค้าได้ดี ดังจะเห็นได้จากหลาย ๆ แบรนด์ที่ใช้กิมมิคความเป็น Retro มานำเสนอสินค้า เมื่อกลุ่มเป้าหมายเห็นสินค้าแล้วถูกกระตุ้นให้รู้สึกตื่นเต้นกับการย้อนนึกถึงความประทับใจในอดีต พวกเขาก็อยากที่จะมีส่วนร่วมกับแบรนด์มากขึ้น และอยากแชร์ต่อผ่านโซเชียลมีเดีย จนเกิดเป็นการโปรโมทแบรนด์แบบไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ
3. เพิ่มยอดขาย
การใช้ Nostalgia Marketing ที่หยิบจับความทรงจำในอดีตที่กลุ่มเป้าหมายประทับใจมาเชื่อมโยงกับแบรนด์อาจทำให้ยอดขายเพิ่มอย่างมีนัยยะสำคัญ ดังจะเห็นได้จากการที่บางแบรนด์นำสินค้าที่เคยเลิกผลิตมาจำหน่ายใหม่ ลูกค้าคนไหนที่คิดถึง ก็จะกลับมาซื้อสินค้า เพื่อสัมผัสกับช่วงเวลาที่พวกเขาคิดถึงอีกครั้ง
4. สร้าง Brand Loyalty
หลาย ๆ แบรนด์เลือกใช้กลยุทธ์ Nostalgia Marketing ด้วยการหยิบของสะสมในยุคอนาล็อกมานำเสนออีกครั้ง เช่น รถวินเทจ กล้องถ่ายรูปฟิล์ม มาผูกโยงเข้ากับสินค้าของตนเองเพื่อสร้าง Brand Loyalty ซึ่งการใช้กลยุทธ์แบบนี้ ไม่เพียงแต่จะช่วยเพิ่มยอดขาย แต่ยังสามารถสร้างความผูกพันระยะยาวระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ผ่านของสะสมนั้น ๆ ด้วย
วิธีทำ Nostalgia Marketing ให้ประสบความสำเร็จ
การทำ Nostalgia Marketing ให้ประสบความสำเร็จไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่จับแนวคิดการเล่าเรื่องราวในอดีตให้ตรงจุด จากนั้นทำตามขั้นตอนเหล่านี้
1. ทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย
หากต้องการให้การทำการตลาดมีประสิทธิภาพมากที่สุด การรู้จักกลุ่มเป้าหมายถือเป็นเรื่องสำคัญ โดยเริ่มแรกอาจจะต้องทำความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมายของเราก่อนว่าพวกเขาเป็นใคร อายุเท่าไร ประทับใจและมีอารมณ์ร่วมกับอะไรเป็นพิเศษ รวมถึงศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าของกลุ่มเป้าหมายเพิ่มด้วย ก็จะช่วยให้สามารถวางแผนทำการตลาดที่กระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกอยากซื้อจากพวกเขาได้ดีขึ้น
2. ทำแคมเปญจำลองเรื่องราวในอดีต
เมื่อรู้โปรไฟล์ของกลุ่มเป้าหมายของเราแล้ว ลองจำลองแคมเปญจากเรื่องราวหรือเหตุการณ์ในช่วงเวลาอดีตที่กลุ่มเป้าหมายคิดถึงหรือประทับใจมากที่สุด อาจเป็นอีเวนท์สำคัญ ๆ ที่ย้อนกลับไปในช่วงวัยเด็กของพวกเขา หรือใช้กิมมิคที่กำลังโด่งดังในช่วงเวลานั้นมานำเสนอผ่านสินค้าของเราอีกครั้ง ก็จะช่วยให้พวกเขาเข้าถึงสินค้า และรู้สึกประทับใจมากขึ้นด้วย
3. โปรโมทผ่านโซเชียล
การโปรโมทผ่านโซเชียลมีเดียถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยให้แคมเปญสำเร็จได้เร็วขึ้น เพราะเมื่อแคมเปญได้พากลุ่มเป้าหมายย้อนไปในช่วงเวลาที่คิดถึง ก็จะยิ่งทำให้พวกเขารู้สึกประทับใจและอยากแบ่งปันแคมเปญของเราต่อไปด้วยความเต็มใจ บางครั้งอาจกลายเป็นกระแสโด่งดังถึงขั้นเป็นไวรัล ทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักในวงกว้างและเพิ่มยอดขายแบบที่ไม่จำเป็นต้องเสียค่าโฆษณาแม้แต่น้อย
Case Study ตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้กลยุทธ์ Nostalgia Marketing
ปัจจุบันแบรนด์ดัง ๆ ได้นำกลยุทธ์ Nostalgia Marketing มาทำแคมเปญจนกลายเป็นกระแสไวรัลอยู่หลายแบรนด์ด้วยกัน ในที่นี้เราขอยก Case Study จากแบรนด์ดังมาให้อ่านด้วยกัน 3 แคมเปญ
Burger King
เบอร์เกอร์คิง (Burger King) คือแบรนด์เบอร์เกอร์ระดับโลกที่ก่อตั้งในปี 1954 ปัจจุบันมีมากถึง 28,000 สาขาทั่วโลก และในช่วงปี 2021 เบอร์เกอร์คิงได้ทำการ Rebrand ครั้งยิ่งใหญ่โดยใช้กลยุทธ์ Nostalgia Marketing ด้วยการออกแบบโลโก้ใหม่สไตล์วินเทจที่พาแบรนด์ย้อนกลับไปในช่วงปี 1969-1999 สิ่งนี้ไม่เพียงพาผู้คนให้หวนรำลึกไปถึงช่วงเวลาแห่งความสุขในยุคนั้น แต่ยังย้อนไปถึงยุครุ่งเรืองของแบรนด์อีกด้วย
KitKat
KitKat ก็ใช้กิมมิคของ Nostalgia Marketing เช่นกัน ดังจะเห็นได้จากแคมเปญจำหน่ายของสะสมวินเทจที่ผลิตมาเพียงจำนวนไม่กี่ชิ้น ทั้งกล้องฟิล์มใช้แล้วทิ้ง หรือแม้แต่กล่องโทรทัศน์สไตล์วินเทจ สิ่งนี้ช่วยกระตุ้นอารมณ์ร่วมทำให้ลูกค้าตามหาของสะสมกันยกใหญ่ จนกลายเป็นไวรัลอยู่ช่วงเวลาหนึ่งเลยทีเดียว
Joox
ไม่ใช่เพียงแต่ธุรกิจอาหาร แพลตฟอร์มฟังเพลงอย่าง Joox ก็ขอร่วมทำแคมเปญ Nostalgia Marketing กับเขาด้วยเหมือนกัน โดย Joox จัดทำแคมเปญ Throwback the 90s โดยนำเพลงเก่าในยุค 90 มาร้องอีกครั้งผ่านศิลปินรุ่นใหม่ แคมเปญนี้ถือว่าดึงดูดกลุ่มเป้าหมายวัย 30+ ได้เป็นอย่างดีแต่ที่มากกว่านั้นยังทำให้เด็ก ๆ Young Generation หันมาฟังเพลงในยุค 90 เพิ่มขึ้นด้วย
สรุป
แม้ว่า Nostalgia Marketing คือรูปแบบการทำการตลาดที่มีข้อดีมากมาย แต่แบรนด์ก็ควรระวังการยัดเยียดความเก่ามากจนเกินไป เพราะลูกค้าอาจรู้สึกได้ถึงความไม่จริงใจ ไม่ให้เกียรติวันวานที่พวกเขาผูกพัน จนรู้สึกว่าไม่อยากเป็นลูกค้าแบรนด์นั้น ๆ อีกก็เป็นได้
ดังนั้น การทำ Nostalgia Marketing อย่างใส่ใจจึงเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่มากกว่าการขายของ เพราะหากทำได้ลึกซึ้งมากพอ ก็อาจเป็นเสมือนสมุดบันทึกเรื่องราวดี ๆ สำหรับลูกค้าและเจ้าของแบรนด์ได้
เมื่อรู้ดังนี้แล้ว ถ้าคุณยังไม่มั่นใจว่าธุรกิจของตนเองเหมาะสมกับการใช้เทคนิคหรือกลยุทธ์แบบใด หรือต้องการความช่วยเหลือด้านการทำการตลาด สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญจาก Primal Digital Agency เรามีผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมช่วยออกแบบแผนการตลาดที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณมากที่สุด พร้อมแล้วก็กรอกรายละเอียดเพื่อรับแผนการตลาดกับเราได้เลยตอนนี้
Join the discussion - 0 Comment