แอปพลิเคชัน Instagram นั้นมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จนแทบจะมีประสิทธิภาพทรงพลังเทียบเท่ากับบริษัทแม่อย่าง Facebook เลยทีเดียว ซึ่งในแง่ของการทำ Digital Marketing นั้น แอปฯ Instagram เองแสดงให้เห็นอยู่แล้วไม่ว่าจะลงโฆษณาบน IG รูปแบบไหนก็สามารถเป็นไปได้ทั้งสิ้น ที่ผ่านมา Instagram ได้รันแคมเปญที่ประสบความสำเร็จ สามารถเผยแพร่ชื่อเสียงของแบรนด์ให้กลายเป็นที่รู้จักระดับโลกในหมู่ผู้ใช้งานแอปฯ ที่อัปโหลดรูปภาพกว่า 60 ล้านภาพในทุกๆ วัน ทำให้การใช้งานบนแอปพลิเคชันนี้ขยายไปได้ไกลเกินฐานลูกค้าอย่างรวดเร็ว ในประเทศไทยเองก็มีผู้ใช้งานมากกว่า 14 ล้านคน ทำให้การเผยแพร่เนื้อหาใดๆ ผ่าน Instagram กลายเป็นอีกหนทางหนึ่งในการทำให้ธุรกิจคุณประสบความสำเร็จได้มากยิ่งขึ้น ซึ่ง Primal เองก็มีประสบการณ์ในด้านการตลาดผ่านโซเชียลมีเดียมานาน สามารถนำเสนอการรันแคมเปญผ่าน Instgram ในแบบระดับเฟิร์สคลาส เพื่อให้ธุรกิจของลูกค้าสามารถบรรลุเป้าหมายได้ตามที่ตั้งไว้ได้
เช่นเดียวกับ Facebook และแอปพลิเคชันอื่นๆ บนโซเชียลมีเดีย การยิงโฆษณาผ่าน Instagram นั้นมีส่วนช่วยให้คุณสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น สร้างความเป็นที่สุดของตัวแบรนด์ใน Instagram ซึ่งในแพลตฟอร์มของตัวแอปฯ เองก็อนุญาตให้นักการตลาดโพสต์ภาพที่ได้รับการสนับสนุน (Sponsored) และเพื่อเพิ่มโอกาสในการดึงดูดกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสมกับตัวแบรนด์ ด้วยตัวกลยุทธ์เองที่ตั้งเป้าหมายสำหรับคน, เวลาที่ใช่เอาไว้อยู่แล้วตั้งแต่แรกเริ่ม ดังนั้นการทำ Instagram Marketing หรือการตลาดผ่าน Instagram จึงเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งในการสร้างการรับรู้ให้กับตัวแบรนด์ (Brand Awareness), ช่วยเพิ่มยอดผู้เข้าชมหน้าเว็บไซต์ (Website Traffic), นำมาซึ่งว่าที่ลูกค้าคุณภาพในอนาคต (Leads) และมีส่วนในการผลักดันลูกค้าให้เข้าสู่กระบวนการซื้อในที่สุด เหนือสิ่งอื่นใดการตลาดบน Instagram นั้นเป็นวิธีที่ได้ผลอย่างดีเยี่ยม สังเกตได้จากเรื่องง่ายๆ เมื่อผู้ใช้งานต้องการจะตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าสักชิ้น กว่า 60% ของจำนวนผู้ใช้งานมักจะเปิด Instagram เพื่อค้นหาสินค้าก่อนเป็นอันดับแรก จากนั้นก็จะมีผู้ใช้งานปัจจุบันอีก 75% ที่ตัดสินใจทำอะไรสักอย่าง อาจจะเป็นการเข้าไปค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมต่อบนหน้าเว็บไซต์ แสวงหาช่องทางในการซื้อ ตลอดไปจนถึงเริ่มติดต่อกับแบรนด์โดยตรง ทั้งหมดล้วนเริ่มต้นจาก Instagram ทั้งสิ้น
จุดขายสำคัญสำหรับทั้งตัวเอเจนซี่ที่ทำโฆษณาผ่าน Instagram, บริษัทส่วนตัว หรือบริษัทที่ทำโฆษณาเฉพาะบุคคลบนแอปฯ Instagram คือการที่บริษัทเหล่านี้สามารถศึกษาข้อมูลของกลุ่มผู้ใช้งาน (Data) จากแอปฯ Facebook เพื่อตั้งเป้าหมายให้กับโฆษณาของตนเอง อย่างไรก็ตาม Instagram เองยังมีกระบวนการทำงานที่แตกต่างจาก Facebook อยู่ดีในแง่ของโครงสร้างและฟังก์ชันการทำงานของตัวโฆษณา ทั้งนี้เนื่องจากมุมมองของ Instagram ที่แตกต่างกันออกไปจากแอปฯ อื่นๆ ประกอบไปด้วยแพลตฟอร์ม 6 รูปแบบในการวางแผนเพื่อทำสื่อโฆษณา 4 แพลตฟอร์มแรกเรียกว่า Instagram Feed Ads หรือหน้าฟีดโฆษณา ส่วนอีก 2 แพลตฟอร์มหลังเรียกว่า Instgram Stories Ads หรือที่ทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดีภายใต้ชื่อ Instagram Stories ดังนั้นแบรนด์ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า ROI (Return of Investment) หรือยอดขายที่เคยได้รับมาจากการทำโฆษณาผ่าน Insagram จริงหรือไม่ เพียงแค่ร่วมงานกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านการตลาดบนสื่อโซเชียลมีเดียอย่างเรา Primal รายล้อมไปด้วยทีมงานมืออาชีพในด้านการทำโฆษณาอินสตาแกรมโดยเฉพาะ ดังนั้นจึงทราบเป็นอย่างดีว่าวิธีการทำโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร เพื่อให้สามารถเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายให้กลายเป็นยอดขายได้อนาคต
โดยธรรมชาติแล้ว กลยุทธ์ของการทำการตลาดผ่าน Instagram นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลากหลายประการด้วยกัน ขึ้นอยู่กับแต่ละธุรกิจ และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของแคมเปญที่ตั้งเอาไว้แล้วนั้น ตัวแบรนด์เองจะต้องพิจารณาด้วยว่างบประมาณกับทรัพยากรที่มีอยู่ในมือนั้นจะสร้างสรรค์ให้ออกมาเป็นผลกระทบทั้งแง่ลบและแง่บวกได้อย่างไรบ้าง เมื่อคำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้ได้แล้วอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมนั่นก็คือระหว่างการทำโฆษณา IG ผ่าน Feed Ads หรือ Stories Ads อันไหนเหมาะสมกับแบรนด์คุณมากที่สุด เนื่องจากคุณไม่สามารถโพสต์วิดีโอโฆษณาลงในฟีเจอร์ทั้งสองแบบพร้อมกันได้ โดยฟีเจอร์ Instagram Feed Ads นั้นแบ่งแยกออกเป็นอีก 4 หมวดหมู่ตามที่กล่าวไปแล้วในข้างต้น ได้แก่: Photo Ads (โฆษณาแบบรูปภาพ), Video Ads (โฆษณาแบบวิดีโอ), Carousel Ads และ Slide Show Ads ซึ่งจาก 4 หมวดหมู่ที่กล่าวไปแล้วนั้นอาจจะมีความซับซ้อนอยู่บ้างเล็กน้อย อย่างไรก็ตามไม่ต้องกังวลไป เพราะ Facebook Ads Manager หรือผู้จัดการโฆษณาผ่านเฟซบุ๊คเองจะทำหน้าที่แนะนำไซส์ของรูปภาพและวิดีโอที่ถูกต้องและเหมาะสมแก่การโฆษณาในแต่ละหมวดหมู่ให้แก่แบรนด์คุณเอง
เมื่อกล่าวถึงการพัฒนาแคมเปญการตลาดบน Instagram ที่มีประสิทธิภาพสำหรับผลิตภัณฑ์ในแต่ละตัวของแบรนด์แล้วนั้น อย่างไรก็ตามระหว่าง Feed Ads และ Stories Ads ก็ยังมีความแตกต่างอยู่บ้างในบางมุม ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่แบรนด์ควรรับทราบและจดจำ ยกตัวอย่างเช่น นักการตลาดออนไลน์หลายท่านเชื่อว่า Stories Ads จะช่วยให้บรรดาผู้ติดตามได้รับประสบการณ์ร่วมไปกับแบรนด์ ซึ่งประเภทของการโพสต์ลง Instagram ลักษณะนี้เป็นการโพสต์แบบวิดีโอ ความยาวประมาณ 120 วินาที นับเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่แบรนด์จะมีโอกาสได้ส่งสาระสำคัญที่ต้องการจะบอกกับผู้ที่ผ่านมาเห็นวิดีโอนี้ และด้วยความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดออนไลน์ (Digital Marketing) อย่าง Primal บริษัทรับทำโฆษณา IG ที่สามารถการันตีได้เลยว่าในทุกๆ การตัดสินใจของธุรกิจและการเลือกทำโฆษณาผ่าน Instagram จะเป็นไปอย่างถูกต้อง อีกทั้งยังให้คุณสามารถเน้นย้ำคุณค่าและความเป็นตัวแบรนด์ได้อย่างเต็มที่ ขณะเดียวกันก็ยังสามารถเน้นย้ำไปที่ข้อดีของผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าจะได้รับหลังจากตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของคุณกลับไปใช้
ในขณะที่บางแบรนด์ที่ทำโฆษณาผ่าน Instagram แล้วได้รับผลตอบรับดีเกินคาดจากการเลือกใช้ฟีเจอร์ Stories Ads เพื่อปรับทิศทางการตลาดให้กับแบรนด์ตนเอง แต่แบรนด์อื่นๆ ก็อาจจะประสบความสำเร็จกับการเลือกใช้ฟีเจอร์ Feed Ads ในการทำโฆษณาก็เป็นได้ ทั้งนี้หลายๆ แบรนด์ที่มีชื่อเสียงเรื่องอุตสาหกรรมอาหารฟาสต์ฟู้ดและอุตสาหกรรมยานยนต์อาจจะมองว่า Feed Ads คือฟีเจอร์ที่ดีและเหมาะสมที่สุดในการสร้างสรรค์เนื้อหาโฆษณาและส่งต่อไปยังผู้ชม ด้วยตัวธุรกิจเองนั้นเป็นที่รู้จักของลูกค้าทั่วทุกมุมโลกอยู่แล้ว ดังนั้นแบรนด์จึงสามารถเลือกใช้ฟีเจอร์ Feed Ads ในการโปรโมทตัวผลิตภัณฑ์และเผยแพร่ประสบการณ์ใหม่ๆ จากแบรนด์ได้มากกว่าการผลิตเนื้อหาโฆษณาเพียงเพื่อสร้าง Brand Awareness หรือทำให้ผู้ชมรู้จักตัวแบรนด์เหมือนในช่วงแรกเริ่ม จึงเป็นเหตุผลที่เข้าใจได้ว่าทำไมแบรนด์น้องใหม่หลายเจ้ามักเลือกที่จะใช้ฟีเจอร์ Stories Ads ในการโปรโมทเสียเป็นส่วนใหญ่ อันเนื่องมาจากจุดประสงค์ที่กล่าวไปแล้วในข้างต้น คือการแนะนำตัวแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักในฐานลูกค้าใหม่ๆ และในขณะเดียวกัน Stories Ads ก็ยังเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมในการเผยแพร่เนื้อหาที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ หรือการใช้ในเชิงทดลองต่างๆ
สำหรับธุรกิจที่เริ่มเข้าสู่พื้นที่การตลาดผ่าน Instagam แล้วนั้น ขอให้แน่ใจว่าบัญชีผู้ใช้งาน Instagram ของคุณนั้นเป็นโปรไฟล์ที่ใช้ในเชิงธุรกิจ ฟังดูแล้วอาจจะดูเป็นเรื่องเล็กน้อยแต่ก็ก่อให้เกิดความแตกต่างในบางประการขึ้นได้ หากวันหนึ่งตัวแบรนด์ต้องการที่จะขยายฐานลูกค้า เพิ่มจำนวนผู้ติดตามและเจาะกลุ่มตลาดได้อย่างแม่นยำมากขึ้นโดยอาศัยแพลตฟอร์ม Instagram เมื่อคุณสามารถเข้าถึงรายละเอียดกลุ่มผู้ใช้งานที่มีความจำเป็นแก่การตลาดบน Instagram แล้วนั้น การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในลำดับถัดมาก็คือ แบรนด์สามารถปรับปรุงยอด Conversion Rate ได้ ผู้ติดตามคุณจะเห็นปุ่ม 'กดเพื่อติดต่อ' บนหน้าโปรไฟล์ และเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ติดตามจะสามารถค้นหาโปรไฟล์แบรนด์คุณเจอบน Instagram สามารถเข้าถึงแบรนด์คุณได้อย่างแน่นอน จากคุณสมบัติทั้งหมดที่กล่าวมานั้นก็ถือว่าเป็นเหตุผลมากพอที่ควรจะเปลี่ยนไปใช้โปรไฟล์แบบธุรกิจ จากนั้นก็มาร่วมค้นหาเครื่องมือใหม่ๆ ที่น่าตื่นเต้นบน Instagram ไปพร้อมๆ กัน
การที่แบรนด์มีโปรไฟล์ Instagram ในเชิงธุรกิจนั้นถือว่าเป็นวิธีที่ดีและเหมาะสมที่สุดในการปรับปรุงภาพลักษณ์ตนเองบนโลกออนไลน์ และเนื่องจากในตอนนี้คุณจะได้รับสิทธิและประโยชน์จาก Instagram ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากสถิติผู้ใช้งานได้ด้วยตนเอง เรียกได้ว่าตอนนี้คุณมีแหล่งข้อมูลที่ดีเยี่ยมและเพียงพอในการประเมินประสิทธิภาพก่อนที่จะสร้างโพสต์ขึ้นมาโปรโมทแบรนด์ตัวเองสักอันหนึ่ง จากการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติผู้ใช้งานอันได้แก่ อายุ, เพศ, สถานที่ตั้ง ตัวแบรนด์เองสามารถนำเอามาใช้เพื่อตั้งเป้าหมายแคมเปญการตลาดที่กำลังจะรันต่อไปในอนาคต คุณจะได้รับข้อมูลหรือสถิติแบบเชิงลึกว่าผู้ติดตามคุณใช้งาน Instagram บ่อยที่สุดในช่วงวันและเวลาใด นอกจากนี้แบรนด์ยังสามารถเข้าไปเจาะข้อมูลเชิงลึกในโพสต์เก่าๆ ที่เคยสร้างเอาไว้เพื่อเปรียบเทียบเทรนด์ความนิยมทั้งในอดีตและปัจจุบันว่าแตกต่างกันอย่างไร เรียกได้ว่าเป็นการใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มฟรีอย่าง Instagram ในแง่ของธุรกิจให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั่นเอง
การรันแคมเปญการตลาดบนแพลตฟอร์ม Instagram จะประสบความสำเร็จอย่างแน่นอนโดยเฉพาะกับธุรกิจที่บริหารงานได้อย่างทั่วถึงในทุกภาคส่วน แต่ในขณะเดียวกันแพลตฟอร์ม Intagram เองอาจจะยังไม่สามารถรับประกันความสำเร็จในการรันแคมเปญการตลาดกับในบางธุรกิจ ทั้งในแง่ของการวางแผนแคมเปญและการมีศิลปะดึงดูดกลุ่มเป้าหมายอย่างเหมาะสมและถูกวิธี ซึ่งหนึ่งในอุปสรรคสำคัญที่ทำให้แคมเปญการตลาดไม่ประสบความสำเร็จนั่นก็คือ แบรนด์มองข้ามการเข้าถึงและดึงดูดกลุ่มเป้าหมายของตนเอง ถือเป็นปัญหาหลักโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับธุรกิจเกิดใหม่ที่ยังไม่มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน ถือเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่จะมีทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดบนโซเชียลมีเดียอย่าง Primal ผู้รับทำโฆษณาบน Instagram เข้ามาเพิ่มความมั่นใจให้คุณว่าจะสามารถเข้าถึงกลุ่มคนที่จะเป็นลูกค้าของแบรนด์นั้นๆ ได้ในอนาคตและยังมีส่วนช่วยทำให้ในทุกๆ โพสต์ของแบรนด์เป็นที่สนใจมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เมื่อแบรนด์ค่อยๆ เริ่มมีทักษะทางด้านการตลาดบน Instagram เริ่มทราบแนวทางว่าเนื้อหาประเภทไหนที่โพสต์ออกไปแล้วจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งก็มีหลากหลายวิธีในการค้นหาและตอบรับข้อมูลเชิงลึกจนทำให้ทราบว่าธุรกิจอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายกับแบรนด์เรามีทักษะการเข้าถึงลูกค้าอย่างไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น การค้นหาผ่านแฮชแท็ก (#) ที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์คุณ จากนั้นตรวจสอบโดยคร่าวๆ ว่าแบรนด์อื่นๆ มีลักษณะหรือจุดเด่นในการโพสต์โปรโมทไปในทิศทางไหน มีธีมหรือสไตล์การสร้างเนื้อหาอย่างไร เพื่อให้ได้มาซึ่งผลตอบรับของแบรนด์ที่ดีเยี่ยมในลำดับถัดไป ทั้งนี้ต้องอย่าลืมว่าคุณยังสามารถค้นหาได้ว่ากลุ่มเป้าหมายที่ติดตามแบรนด์คู่แข่งคุณนั้นมีปฏิกิริยาหรือมีส่วนร่วมกับแพลตฟอร์มนี้อย่างไร สถิติของโปรไฟล์ธุรกิจคุณนั้นเป็นข้อมูลที่ถูกจัดทำขึ้นโดยอ้างอิงจากสถานที่ตั้งและการใช้งาน Instagram ของกลุ่มผู้ติดตามเป็นหลัก เมื่อใดก็ตามที่คุณสามารถสร้าง Stories หรือโพสต์ได้ประสบความสำเร็จและเข้าใกล้จุดมุ่งหมายแล้ว หากคุณตัดสินใจร่วมงานเป็นพาร์ทเนอร์กับ Primal บริษัทรับลงโฆษณา Instagram ขอเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้แบรนด์ลูกค้าระบุกลุ่มเป้าหมายที่บน Instagram รวมไปถึงช่วยสร้างเนื้อหาในการโปรโมทที่ดึงดูดความสนใจจากกลุ่มผู้ติดตามให้ประสบความสำเร็จและเข้าใกล้จุดมุ่งหมายมากยิ่งขึ้นไปอีก
Search Engine Optimization หรือ SEO นั้นเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในแวดวง Digital Marketing ในขณะเดียวกันก็กลายเป็นเรื่องท้าทายเมื่อแบรนด์หันมาใช้ Instagram เป็นแพลตฟอร์มในการโปรโมทธุรกิจ แล้ว SEO ที่สามารถเข้าไปอยู่ร่วมกับแพลตฟอร์มอื่นๆ บนอินเทอร์เน็ตมาแล้วนับไม่ถ้วนจะเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการโปรโมทในลักษณะนี้ได้อย่างไร ไอเดียใหม่ที่เกิดขึ้นหลังจากประสบกับความท้าทายนี้ก็คือ การเพิ่มประสิทธิภาพให้กับบัญชีผู้ใช้งาน Instagram ในเชิงธุรกิจของคุณ ทำให้โปรไฟล์ Instagram คุณเป็นที่ค้นหาได้อย่างง่ายขึ้นบนโลกอินเทอร์เน็ต อาจจะแปะป้ายด้วยคำว่า First Rate Experience หรือรีวิวจากประสบการณ์ตรงของผู้ใช้งานก็ได้ นอกจากนี้มาดูกันว่าเทคนิคพื้นฐานต่างๆ ที่เข้ามาช่วยยกระดับและทำให้เห็นว่าผู้ใช้งาน Instagram มีปฏิสัมพันธ์กับโปรไฟล์จะมีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนแพลตฟอร์มได้อย่างไร เพื่อเป็นการทำให้แน่ใจว่าตัวแบรนด์นั้นกำลังใช้ Instagram อย่างถูกวิธี เริ่มต้นง่ายๆ จากการเลือกภาพโปรไฟล์ให้มีความสะดุดตา ชื่อยูสเนมที่ใช้ค้นหาเป็นที่จดจำง่าย ในขณะเดียวกันก็อย่าลืมแทรกลิงก์หน้าเว็บไซต์ของแบรนด์ไว้บนหน้า Bio เพื่อใช้เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้งานจริง
ในฐานะผู้ใช้งาน Instagram บอกเลยว่าไม่มีสิ่งไหนน่าหงุดหงิดเท่ากับการค้นหาแบรนด์ที่ต้องการแล้วไม่พบ จึงเป็นหน้าที่ของแบรนด์ที่ต้องจับคู่ชื่อธุรกิจของคุณเข้ากับคำหลัก (Keyword) ที่ถูกค้นหามากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจและกำลังเปิดร้านกาแฟชื่อ Lola's ชื่อผู้ใช้งานที่จะสามารถค้นหาได้ง่ายมากที่สุดอันดับต้นๆ ควรจะเป็น "@lolascafe" อันเป็นวิธีที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าที่เข้ามาค้นหาแล้วจะพบแล้วกดติดตาม ให้ลูกค้ารู้สึกว่าเป็นแบรนด์ที่เข้าถึงไม่ยาก และในขณะเดียวกันตัวแบรนด์เองก็ยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในส่วนของ Bio บนหน้าโปรไฟล์คุณให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น อาจจะเป็นการใส่คีย์เวิร์ดสำคัญที่เกี่ยวกับแบรนด์ เรื่องง่ายๆ เกี่ยวกับธุรกิจคุณที่อยากให้ลูกค้ารับทราบและจดจำ ยกตัวอย่างเช่น Vegan Speciality Coffee เป็นต้น รวมไปถึงตำแหน่งที่ตั้งและรายละเอียดอื่นๆ ที่ใช้ในการติดต่อก็เช่นเดียวกัน หากทำตามวิธีที่กล่าวไปทั้งหมดข้างต้นก็มั่นใจได้เลยว่าโปรไฟล์ Instagram ของแบรนด์คุณจะถูกค้นหาเจอในกลุ่มคนทั่วไปอย่างแน่นอน เรียงลำดับจากแฟนตัวยงของแบรนด์ไปยังบุคคลทั่วไปที่อาจจะกำลังมองหาแบรนด์สินค้าทั่วๆ ไป แบบเป็นวงกว้างเช่นคุณ
เนื่องจาก Instagram คือแพลตฟอร์มที่ค่อยๆ เติบโตขึ้นจนกลายเป็นหนึ่งในโซเชียลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตัวโฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าฟีดหรือใน Stories กลายเป็นเรื่องธรรมดาที่พบเห็นได้ทั่วไป และด้วยช่องโหว่ที่มีอยู่มากมายมหาศาลจึงทำให้ Instagram กลายเป็นแพลตฟอร์มที่มีการแข่งขันสูงมากแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน หากคณต้องการดึงดูดความสนใจจากลูกค้าให้ได้มากที่สุดแล้วละก็จะต้องใส่ใจรายละเอียดให้ได้มากกว่าธุรกิจเจ้าอื่นๆ เช่นกัน หากเป็นบนแพลตฟอร์ม Instagram นั่นหมายความว่าแบรนด์สามารถดึงดูดความสนใจจากลูกค้าได้โดยการโปรโมทผ่านโพสต์หรือซื้อสื่อโฆษณา (Ads) ผ่านโปรไฟล์ธุรกิจของคุณ โดยสถิติจาก Facebook พบว่าผู้ใช้งาน Instagram ประมาณ 83% ต่างค้นพบผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ จากแพลตฟอร์มออนไลน์นี้ เป็นช่วงเวลาเดียวกันที่ Instagram เริ่มกลายเป็นช่องทางสำคัญของหลายๆ แบรนด์ในการขยายธุรกิจ เป็นช่องทางในการเพิ่มยอดขาย เป็นแหล่งในการโปรโมทผลิตภัณฑ์ เพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจของคุณจะยังคงตามทันคู่แข่งอยู่เสมอ เริ่มต้นค้นหาไปด้วยกันแล้วมาดูว่า Instagam จะมีส่วนช่วยสร้างความแตกต่างให้ผู้ติดตามสามารถเข้าถึงแบรนด์คุณได้อย่างไร
ถือเป็นเรื่องโชคดีที่กลยุทธ์การทำโฆษณาที่มีประสิทธิภาพบน Instagram นั้นสามารถทำได้ง่ายๆ ถ้าหากแบรนด์รู้จักติดตามแคมเปญการตลาดของตนเองผ่าน Facebook Ads Manager อยู่เสมอ อย่างไรก็ตามแต่อาจจะยังคงเป็นเรื่องที่ยากสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการรันแคมเปญให้มีประสิทธิภาพ ยังไม่สามารถเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายให้กลายมาเป็น Return of Investment (ROI) ได้ จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านโซเชียลมีเดียโดยเฉพาะอย่าง Primal IG Ads เอเจนซี่เข้ามาให้ความช่วยเหลือแบรนด์เล็กๆ กำหนดวัตถุประสงค์ที่เหมาะสมกับแคมเปญ ตั้งกลุ่มเป้าหมายบน Instagram โดยอ้างอิงจากแหล่งข้อมูล (Data-Driven) ที่มี ทำความเข้าใจกลุ่มลูกค้าหลักของแบรนด์ อย่างเช่น อายุ, เพศ, สถานที่ตั้ง และความสนใจ จากการที่ Primal เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในเรื่องการตลาดบน Instagram ให้กับแบรนด์คุณ ก็เพื่อเป็นการส่งมอบ ROI อันเป็นผลลัพธ์ที่ดีเยี่ยมกลับคืนสู่ธุรกิจของคุณนั่นเอง
เมื่อจะกล่าวถึงการสร้างเนื้อหาบน Instagram สุดทึ่งที่คล้ายคลึงกับความต้องการของผู้ติดตาม คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่ารูปภาพที่เผยแพร่บน Instagram นั้นจะเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของเรื่องทั้งหมดแต่แท้จริงแล้วรูปภาพที่แบรนด์เผยแพร่ลงไปนั้นอาจจะกลายเป็นแค่สิ่งดึงดูดและผ่านสายตาลูกค้าไปเฉยๆ ก็ได้ ดังนั้นแคปชันจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยดึงดูดความสนใจให้ลูกค้าตามเข้ามาคลิกดูรายละเอียดบนหน้าเว็บไซต์และตัดสินใจซื้อในที่สุด อย่างไรก็ตามหลายธุรกิจก็ยังคงมองข้ามความสำคัญของการเขียนแคปชันบน Instagram อยู่ดี มองดูอาจจะเป็นเรื่องเล็กน้อยแต่ก็เป็นแนวทางในการดึงดูดใจลูกค้าที่ได้ผลที่สุด แถมยังเป็นการเพิ่ม Conversion Rate ไปด้วยในตัว ดังนั้นหากตัวแบรนด์สามารถลงมาให้รายละเอียดและความสำคัญกับการเขียนแคปชัน พัฒนาสาระสำคัญของสิ่งที่แบรนด์กำลังจะส่งออกไป (Brand Voice) และบอกเล่าเรื่องราวที่คิดว่าเป็นผลดีแล้วละก็ รับรองว่าผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้นๆ รวมไปถึงตัวแบรนด์จะได้รับเสียงตอบรับที่ดีเยี่ยมและได้ผลประโยชน์กลับคืนมาอย่างแน่นอน
เพื่อเป็นการขยายบัญชีผู้ใช้งาน Instagram ให้กับธุรกิจของคุณ รวมไปถึงสร้างความเป็น Brand Loyalty ให้แก่บรรดาผู้ติดตามแล้วนั้น ทุกๆ แบรนด์จำเป็นต้องแสวงหาความโดดเด่นในตัวเอง หากว่าแบรนด์คุณมีการโปรโมทเนื้อหาผ่านแพลตฟอร์มอื่นๆ ไปด้วยในเวลาเดียวกันก็ขอให้มั่นใจว่าเนื้อหาที่ใช้เผยแพร่ในแพลตฟอร์มอื่นๆ จะต้องไม่ซ้ำกัน เนื่องจากบางรายละเอียดอาจจะไม่เหมาะสมกับผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์ม Instagram ก็เป็นได้ นอกจากนี้หลายๆ แบรนด์คงจะทราบดีว่าเนื้อหาที่ใช้โปรโมทในแคปชันจะต้องไม่ยาวเกินไปเพราะอาจจะทำให้ลูกค้าหรือผู้ติดตามรู้สึกเบื่อแล้วเลื่อนผ่านไปเลยก็ได้ แต่นั่นก็อาจจะเป็นเพียงแค่กับลูกค้าบางรายเท่านั้น แบรนด์เองต้องอย่ากลัวหรือกังวลที่จะทดลอง ขอเพียงแค่ความยาวตัวอักษรไม่เกินที่แพลตฟอร์มกำหนดไว้ก็เพียงพอ และเพื่อให้ได้มาซึ่งแคปชันบน Instagram ที่ส่งผลกระทบในเชิงบวกแก่ผู้ติดตาม สามารถดึงดูดกลุ่มผู้ติดตามให้เข้าถึงแบรนด์และสนใจในตัวผลิตภัณฑ์ ไว้ใจให้ Primal เอเจนซี่รับทำโฆษณาบนอินสตาแกรมดูแลแพลตฟอร์มออนไลน์ให้กับธุรกิจคุณ เพื่อผลตอบรับที่ดีเยี่ยม เหมาะกับธุรกิจทุกประเภทและทุกขนาด
ปัจจุบันแฮชแท็ก (Hashtag) กลายเป็นส่วนประกอบสำคัญไปเสียแล้วเวลาค้นหาข้อมูลใดๆ ก็ตามบนโลกอินเทอร์เน็ต ถูกใช้งานบนโซเชียลมีเดียทุกๆ แพลตฟอร์ม แฮชแท็กมีไว้เพื่อทำหน้าที่เน้นย้ำเนื้อหาและความโดดเด่นในกิจกรรมนั้นๆ ตั้งแต่แบรนด์แฟชันไปจนถึงเรื่องตลก หรือการอ้างอิงใดๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องวัฒนธรรม หากแบรนด์ธุรกิจคุณตัดสินใจที่จะใช้แฮชแท็กอย่างเต็มประสิทธิภาพแล้วละก็ สามารถใช้ในการดึงดูดลูกค้า ทำให้ลูกค้าเข้ามายังหน้าโปรไฟล์ Instagram ได้อย่างง่ายดาย และด้วยตัวฟีเจอร์พิเศษของ Instagram เองที่อนุญาตให้ผู้ใช้งานสามารถกดติดตามแฮชแท็กเฉพาะเรื่องที่สนใจ ใช้ค้นหาเรื่องราวใดๆ ที่เกี่ยวกับแบรนด์คุณโดยผ่านคีย์เวิร์ดสำคัญที่แบรนด์ใส่เอาไว้ในแฮชแท็ก เป็นการดึงดูดกลุ่มผู้ติดตามให้เข้ามาพบเจอผลิตภัณฑ์หรือข้อมูลที่ตนเองสนใจจากการค้นหานั่นเอง
ฟังดูอาจจะเป็นเรื่องง่ายเพียงแค่เพิ่มแฮชแท็กที่เป็นคีย์เวิร์ดใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวแบรนด์เอาไว้ท้ายโพสต์ แต่นั่นก็ไม่ใช่ตัวการันตีว่าทำเพียงครั้งเดียวแล้วจะประสบความสำเร็จ ผู้ติดตามสามารถเห็นแฮชแท็กและโพสต์ของแบรนด์คุณแล้วจบ ซึ่งแท้จริงแล้วอาจมีอะไรมากกว่านั้น ให้คิดอย่างรอบคอบในแง่ของการใช้งาน ไม่ใช่เพียงแค่การโพสต์เนื้อหาลง Instagram แล้วจบ แต่สิ่งที่โพสต์ลงไปยังสามารถกลายเป็นเทรนด์ อีกทั้งยังสามารถแปลงไปเป็นลูกค้าได้ในอนาคตอีกด้วย แต่ก็ยังคงอยู่ภายใต้กฎระเบียบที่สามารถติดแฮชแท็กได้เพียงแค่ 30 คำ ต่อการโพสต์ 1 ครั้ง ดังนั้นแบรนด์เองควรสรรหาคีย์เวิร์ดที่มีประสิทธิภาพ เชื่อมโยงกับทั้งความเป็นแบรนด์และเกี่ยวข้องกับความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด เพื่อให้แบรนด์สามารถการันตีได้ว่าลูกค้าจะสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการของแบรนด์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ตัวแบรนด์เองมาพร้อมกับแฮชแท็กที่สามารถใช้งานได้จริง เกิดประโยชน์สูงสุด สามารถเรียกบรรดาผู้ติดตามให้เข้ามามีส่วนร่วม เกิดปฏิสัมพันธ์หรือเกิดบทสนทนากันระหว่างตัวแบรนด์และลูกค้าในท้ายที่สุด
หนึ่งในกลยุทธ์การตลาดบน Instagram ที่ทำให้หลายๆ แบรนด์ประสบความสำเร็จมาแล้วเป็นส่วนใหญ่ก็คือการผูกติดชื่อแบรนด์เอาไว้กับแฮชแท็ก (Hashtag) นับเป็นแนวทางที่ดีที่สุดในการดึงดูดผู้ติดตามให้เข้ามามีส่วนร่วมหรือออกไอเดียความคิดสร้างสรรค์บนหน้า Feed ของแบรนด์ และพร้อมเป็นส่วนหนึ่งของบทสนทนาไปด้วยกัน จากกรณีศึกษาพบว่าแฮชแท็กที่ได้รับความนิยมกว่า 70% บน Instagram นั้นถูกสร้างขึ้นโดยแบรนด์ หากคุณสามารถชักนำให้ลูกค้าเข้ามากลายเป็นส่วนหนึ่งในแคมเปญการตลาดของแบรนด์คุณได้แล้วละก็ ผู้ติดตามเหล่านี้จะมีส่วนในการช่วยโปรโมท Instagram ของแบรนด์คุณไปโดยปริยาย อย่างไรก็ตาม คำพูดง่ายกว่าการกระทำเสมอ การสร้างสรรค์แคมเปญการตลาดใดๆ ก็แล้วแต่ที่กระทำอย่างชาญฉลาดนั้นจะช่วยให้แบรนด์สามารถสร้างคอมมูนิตี้หรือฐานแฟนๆ ที่รู้จักและชื่นชอบในตัวแบรนด์ได้
เป็นเรื่องง่ายสำหรับแบรนด์ที่ต้องการจะคิดกลยุทธ์ทางการตลาดบน Instagram โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของแฮชแท็กที่ใช้ประจำตัวแบรนด์ อย่างไรก็ตามตัวแบรนด์เองควรยึดติดอยู่กับหลักการใดๆ ก็ตามที่จะทำให้ผู้คนจดจำได้ง่าย อย่างเช่น ชื่อแบรนด์หรือชื่อผลิตภัณฑ์ แม้ว่าแฮชแท็กที่จะเข้ามาทำหน้าที่เป็นตัวแทนแบรนด์ในรูปแบบของคีย์เวิร์ดสั้นๆ ไม่ได้นิยามความหมายอะไรมากมาย แต่ย่อมส่งผลกระทบกับแบรนด์คุณทางใดทางหนึ่งแน่นอน ในลำดับถัดไปก็เป็นเรื่องของแบรนด์ในการตัดสินใจว่าจะใช้แฮชแท็กแบบไหนเพื่อสร้างผลกระทบในเชิงบวกให้ได้มากที่สุด ยกตัวอย่างเช่นคุณสามารถสร้างแคมเปญจากโพสต์ที่ผู้ติดตามสร้างขึ้นและติดแฮชแท็กของแบรนด์เพื่อหวังจะได้รับการโปรโมทของแบรนด์ ซึ่งแบรนด์เองก็สามารถเริ่มต้นโปรโมทจากโพสต์เหล่านั้นได้ หรืออาจจะริเริ่มสร้างแคมเปญที่มีส่วนในการสร้างแรงบันดาลใจ เนื้อหาที่เกี่ยวกับเบื้องหลังการทำงานของแบรนด์ เลือกวางแผนอย่างชาญฉลาด เพื่อให้แฮชแท็กของแบรนด์สามารถโลดแล่นอยู่บนแพลตฟอร์ม Instagram ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
เพิ่มความโดดเด่นให้กับโปรไฟล์ Instagram ของคุณด้วยการสร้างแคมเปญที่ทำร่วมกับ Influencer หรือผู้มีอิทธิพลบนโลกออนไลน์ในแนวทางที่ครอบคลุม จะเห็นได้ว่าปัจจุบัน Digital Marketing ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นกลยุทธ์การตลาดที่ได้ผลมากๆ บนโซเชียลมีเดีย และ Instagram ก็เป็นหนึ่งในแอปพลิเคชันที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมในการริเริ่มทำแคมเปญโฆษณาบน Instagram ข้อเท็จจริงนี้ได้รับการสนับสนุนจากข้อมูลสถิติจาก Instagram ที่เสนอให้บริษัทต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วม (Engagement Rate) อยู่ที่ 3.21% หากเปรียบเทียบกับแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอื่นๆ อย่าง Facebook หรือ Twitter ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานเข้ามามีส่วนร่วมเพียงแค่ 1.5% แล้วตัวเราจะทำการตลาดโดยผ่านตัว Influencer ได้อย่างไร? เริ่มต้นง่ายๆ จากการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับบรรดาเซเลบบริตี้หรือบุคคลสำคัญที่ได้รับการยอมรับในอุตสาหกรรมแขนงต่างๆ อาศัยให้ Influencer โปรโมทแบรนด์และผลิตภัณฑ์ผ่านโปรไฟล์ Instagram ของ Influencer ท่านนั้นๆ ผู้ใช้งานจะไว้วางใจ Influencer มากน้อยแค่ไหน จำนวนผู้ติดตาม (Followers) จะสามารถบ่งบอกได้เป็นอย่างดี ไม่ว่า Influencer จะแสดงความคิดเห็นสิ่งใดออกไปก็จะสามารถโน้มน้าวใจของผู้ติดตามให้เชื่อถือในความคิดเห็นนั้นๆ ถือเป็นตัวช่วยในการสร้างการรับรู้ให้กับตัวแบรนด์ (Brand Awareness), เพิ่มยอด Conversion Rate ให้กับธุรกิจนั้นๆ ในทางอ้อมได้เช่นกัน
จากที่หลายๆ บริษัทเริ่มหันมาใช้แอปฯ Instagram เป็นแพลตฟอร์มในการทำแคมเปญร่วมกับ Influencer สำหรับหลายๆ แบรนด์อาจจะมองว่าเป็นอะไรที่มากกว่าการเป็นเพียงหุ้นส่วน ร่วมกันคิดค้นคอนเทนท์ให้ได้รับความนิยมและประสบความสำเร็จเพียงเท่านั้น หากแต่หนทางที่ดีที่สุดในการกำหนดแนวคิด ทำให้แคมเปญการตลาดเป็นไปตามค่านิยม 3 ประการของการเป็น Influencer นั่นก็คือ ความข้องเกี่ยวสัมพันธ์ (Relevance), การเข้าถึง (Reach), และเสียงสะท้อนกลับ (Resonance) โดยพื้นฐานแล้ว Influencer ท่านที่คุณขอความร่วมมือให้มาทำหน้าที่เป็นตัวแทนของแบรนด์นั้นควรมีฐานผู้ติดตามที่มีความสนใจข้องเกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะของแบรนด์คุณด้วยจึงจะสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่นไม่ติดขัด นอกจากนี้แบรนด์ควรพิจารณาด้วยว่ากลุ่มผู้ติดตามของ Influencer ท่านนั้นๆ ที่คุณกำลังตัดสินใจร่วมงานด้วยมีความสนใจในเนื้อหา/โพสต์ ที่ Influencer เผยแพร่ลงบนแพลตฟอร์มมากน้อยเพียงใด หากว่า Influencer ท่านที่คุณเลือกจะร่วมงานด้วยมีจำนวนผู้ติดตามหลักล้าน แต่มียอด Engagement หรือความสนใจจากบรรดาผู้ติดตามในจำนวนที่ต่ำ แนะนำให้ไปลงทุนร่วมงานกับ Influencer ท่านที่อาจจะได้รับความนิยมน้อยลงมาหน่อย แต่มีฐานแฟนๆ หรือจำนวนผู้ติดตามที่ให้ความสนใจในเนื้อหาที่ Influencer ท่านนั้นๆ เผยแพร่ เข้ามามีปฏิสัมพันธ์เวลาแสดงความคิดเห็นอยู่เสมอก็จะช่วยขยายการรับรู้ของแบรนด์ได้ผลและไปได้ไกลกว่า
การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของแอปพลิเคชัน Instagram นั้นเกิดขึ้นเมื่อปี 2018 เมื่อตัวแพลตฟอร์มเริ่มเปิดให้ใช้ฟีเจอร์ Shopable Posts นั่นหมายความว่าแบรนด์ธุรกิจต่างๆ ที่ทำการตลาดผ่าน Instagram สามารถเริ่มที่จะโปรโมทแบรนด์ตนเองได้อย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมามากยิ่งขึ้น และการเปิดใช้บัญชีผู้ใช้งาน Instagram for Business ร้านค้าหรือแบรนด์สามารถติดแท็กผลิตภัณฑ์ได้สูงสุดถึง 5 รายการต่อ 1 ภาพโพสต์ และเมื่อสินค้าถูกติดแท็กเอาไว้เพื่อบอกรายละเอียดต่างๆ อย่างครบถ้วนแล้วผู้ติดตามก็สามารถกดเพื่อเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมหรือราคาผลิตภัณฑ์ได้หลังจากนั้น นอกจากนี้แบรนด์ยังสามารถแทรกลิงก์เอาไว้ให้ลูกค้าในกรณีที่ต้องการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ได้อีกด้วย ถือว่าเป็นฟีเจอร์ที่เป็นมิตรต่อการทำธุรกิจ E-Commerce เป็นอย่างมาก ตัวแบรนด์เองสามารถสร้างโพสต์พิเศษขึ้นมาเพื่อสร้างยอดขายได้โดยตรง ซึ่งแน่นอนว่าคุณสมบัติของฟีเจอร์ต่างๆ เหล่านี้มักจะไปปรากฏอยู่บนหน้า Feed โดยทันทีเมื่อกดติดตามแบรนด์ธุรกิจนั้นๆ การพิจารณาร่วมงานเป็นพาร์ทเนอร์กับผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดบนโซเชียลมีเดียโดยเฉพาะอย่างเรา Primal จะทำให้แบรนด์ต่างๆ สามารถมั่นใจได้เลยว่าฟีเจอร์ Shoppable Posts จะสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าในอนาคตได้อย่างแน่นอน
ยกระดับบัญชีผู้ใช้งาน Instagram ให้แก่ธุรกิจคุณด้วยการพัฒนาเนื้อหาที่ใช้โพสต์บนฟีเจอร์ Shoppable Posts ในตอนนี้แบรนด์ต่างๆ มีโอกาสโชว์คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ รวมไปถึงยังมีส่วนในการกระตุ้นการตัดสินใจของลูกค้า (Call-To-Action) ได้อย่างเต็มที่ ทำให้การค้าขายผ่าน Instagram เป็นเรื่องที่เข้าถึงง่ายและสร้างมูลค่าให้กับแบรนด์ได้มหาศาล อย่างไรก็ตามแบรนด์เองควรระมัดระวังเรื่องของการสลับเนื้อหาระหว่างกลยุทธ์เนื้อหาที่ใช้ในการโปรโมทแบรนด์กับเนื้อหาที่ใช้สำหรับการโปรโมทสินค้าแบบ Hard-Sell ไปยังผู้ติดตามโดยเฉพาะ ขอให้แน่ใจว่าเนื้อหาที่ใช้สำหรับฟีเจอร์ Shppable Posts เป็นเนื้อหาที่ทำให้คุณสามารถจำหน่ายสินค้าได้สำเร็จ มิเช่นนั้นแล้วการเผยแพร่เนื้อหาใดๆ ที่ไม่มีศิลปะมากเพียงพอก็จะทำให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายในการเสพก็เป็นได้ โดยกลยุทธ์การตลาดบน Instagram ที่ได้ผลคือการรู้จักพิจารณาว่าคุณจะสามารถจับคู่ฟีเจอร์ Shoppable Posts ให้เข้ากับการทำแคมเปญโดยใช้ Influencer เพื่อให้ได้ผลประโยชน์กันทั้งสองฝ่ายอย่างไร
หากจะเปรียบเทียบการตลาดบนแอปพลิเคชัน Instagram เป็นการทำงาน ก็คงจะเรียกว่าเป็นงานประจำแบบเต็มเวลาเลยก็ว่าได้ ดังนั้นถ้าหากคุณพยายามดูแลบล็อกที่ใช้โปรโมทเนื้อหาของแบรนด์, ช่อง YouTube และแพลตฟอร์มโซเชียลอื่นๆ ให้แอคทีฟมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้แล้วละก็ คงเป็นเรื่องที่ท้าทายอยู่มากพอสมควรในการออกแบบหรือสร้างเนื้อหาเอาไว้เผยแพร่บนแพลตฟอร์มอื่นๆ ได้อย่างทั่วถึงในเวลาเดียวกัน นี่จึงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้บริโภคกลายเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของการวางแผนกลยุทธ์การตลาดบนโซเชียลมีเดีย ไม่ใช่เพียงแค่การคิดค้นเนื้อหามาเพื่อเรียกยอด Engagement และยอดการเข้าถึง (Reach) เพียงเท่านั้น แต่ยังมีส่วนในการสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพแบบไม่มีที่สิ้นสุด เพื่อเป็นการกระตุ้นให้แพลตฟอร์ม Instagram ของธุรกิจคุณมีอัตราการเติบโตตลอด 24 ชั่วโมง การปล่อยให้ผู้ใช้งานท่านอื่นๆ โพสต์เนื้อหาใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ของคุณแล้วเผยแพร่ไปยังผู้ติดตามท่านๆ อื่นๆ จะช่วยขยายฐานแฟน กระตุ้นให้แบรนด์กลายเป็นที่รู้จัก และเพื่อเป็นการสนับสนุนกลยุทธ์การตลาดบน Instagram ของคุณมากยิ่งขึ้นไปอีก
สำหรับบริษัทไหนที่กำลังมองหาโอกาสสร้างการรับรู้ให้กับแบรนด์ (Brand Awareness) ต้องการเพิ่ม Conversion Rate ต้องการสร้างแนวทางการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน ทั้งหมดล้วนมีแนวทางการเข้าถึงแคมเปญที่มีประสิทธิภาพโดยการใช้แฮชแท็กของแบรนด์ หนึ่งในเทคนิคที่สามารถดึงดูดให้ผู้ติดตามเข้ามามีส่วนร่วมที่ได้ผลมากที่สุด นอกจากนี้หลายๆ แบรนด์ยังค้นพบวิธีนำพาแบรนด์ไปสู่ความสำเร็จโดยการจัดการแข่งขันเล็กๆ ขึ้นในบัญชีผู้ใช้งาน Instagram ของตนเอง ดึงดูดผู้ติดตามให้เข้ามามีส่วนร่วมและเป็นผู้ชนะในการแข่งขันนั้น ในทุกๆ ครั้งที่แบรนด์แชร์เนื้อหาบนหน้า Instagram Feed หรือแชร์บน Stories แบบซ้ำๆ คุณเองก็มีส่วนในการสร้าง Conversion Rate ให้กับแบรนด์ตนเองไปในตัว เพื่อเป็นการส่งมอบเนื้อหาที่มีมูลค่าและดีที่สุดไปยังผู้ติดตาม รวมไปถึงยังสามารถรักษาระดับ Instagram ของแบรนด์ให้อยู่ในแถวหน้าเสมอ
ที่ถูกเรียกว่า 'Instagram Takeovers' นั้นก็เพราะว่าเป็นกลยุทธ์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา นับว่าเป็นแนวทางเดียวกันกับ Influencer Marketing หรือการตลาดที่ใช้ผู้มีอิทธิพลในโลกโซเชียลในด้านต่างๆ มาดูแลหน้า Instagram Feed ของเรา โดยที่ผู้ดูแลสามารถโพสต์เนื้อหาใดๆ ก็ได้ไปยังกลุ่มผู้ชมของคุณ กลยุทธ์นี้เป็นการผสมผสานกันระหว่างกลุ่มผู้ติดตามของ Influencer บวกเข้ากับกลุ่มผู้ติดตามของตัวแบรนด์เอาไว้ด้วยกัน นำมาซึ่งอัตราการเติบโตของกลุ่มลูกค้าผู้สนใจในตัวผลิตภัณฑ์, ช่วยเพิ่มการรับรู้ของแบรนด์ (Brand Awareness) อย่างดีเยี่ยมและมีประสิทธิภาพ กับไอเดีย 'Instagram Takeovers' ที่นำเสนอวิธีทางการตลาดแบบ Win-Win ให้กับทั้งแบรนด์และตัว Influencer สำหรับแคมเปญนี้จะมีส่วนช่วยในการเพิ่มยอดจำนวนผู้ติดตาม อีกทั้งยังทำให้แบรนด์มั่นใจว่าที่ผ่านมาตัวแบรนด์กำลังพัฒนาความน่าเชื่อถือ (Credibility) ให้กับตนเอง แต่ถ้าหากแบรนด์ของคุณกำลังวางแผนที่จะทำงานกับกลุ่มเป้าหมายขนาดเล็กแล้วละก็ จะสามารถนำเอาไอเดีย 'Instagram Takeovers' นี้มาปรับใช้หรือพัฒนาบัญชีผู้ใช้งาน Instagram ของแบรนด์ได้อย่างไร
เช่นเดียวกันกับการทำแคมเปญการตลาดร่วมกับ Influencer ทั่วๆ ไป ความสำเร็จของไอเดียการ 'Takeover' นั้นจะขึ้นอยู่กับว่า ตัว Influencer ที่แบรนด์ตัดสินใจร่วมงานด้วยนั้นเป็นใคร แม้ว่าจะเป็นการร่วมงานกับ Influencer ที่มียอดผู้ติดตามในมือเป็นจำนวนมหาศาล แต่ก็อยากให้แบรนด์คิดทบทวนอย่างรอบคอบถึงผลประโยชน์ที่ผู้ติดตามของทั้งสองฝ่ายจะได้รับจากการร่วมงานกันในครั้งนี้ด้วย โดยอาจจะเป็นในกรณีที่ Influencer ระดับเล็กกลับสามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ติดตามได้เป็นจำนวนมาก นำมาซึ่งผลตอบรับที่ดีเยี่ยมเกินจำนวนผู้ติดตามในมือก็เป็นได้ และเพื่อเป็นการทำให้แน่ใจว่าแคมเปญของคุณจะตอบโจทย์ตรงกับความต้องการแล้วนั้น แนะนำให้ร่างเป้าหมายที่จำเป็นรวมไปถึงไอเดียของเนื้อหาที่ต้องการจะไปถึงเป้าหมายนั้นๆ ไว้อย่างชัดเจน นอกจากนี้คุณอาจจะมีการพิจารณาเพิ่มเติมเกี่ยวกับแฮชแท็กที่ในพาร์ทเนอร์แต่ละเจ้าของคุณควรใช้เวลารันแคมเปญ Takeover เพื่อให้เหมาะกับแพลตฟอร์มและตรงกับความชอบของผู้ติดตาม
รู้จักใช้ประโยชน์ของ Instagram อย่างเต็มศักยภาพ ด้วยวิธีการสร้างเรื่องราวที่น่าสนใจผ่าน Instagram Stories ปัจจุบันมีผู้ใช้งานกว่า 400 ล้านคนต่อวันที่ใช้ฟีเจอร์นี้ในการถ่ายทอดเรื่องราวที่พบเจอในชีวิตประจำวัน เรียกได้ว่าเป็นฟีเจอร์ยอดนิยมโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ใช้งานที่เปิดแอปฯ Instagram เป็นประจำทุกวัน และก็เป็นธรรมดาที่แบรนด์ธุรกิจหลายๆ แบรนด์ต่างก็หันมาปรับเนื้อหาที่ใช้ในการโฆษณาผ่าน Instagram ให้มีความน่าสนใจและเข้ากับฟังก์ชันนี้มากขึ้น อย่างไรก็ตามฟังก์ชันนี้ถูกหยิบมาใช้ทำโฆษณาในระดับ Side Content หรือเนื้อหาโฆษณารองเพียงเท่านั้น และเพื่อเป็นการทำให้รูปภาพหรือวิดีโอในฟังก์ชัน Stories มีความสมบูรณ์แบบ คุณสามารถเพิ่มข้อความ แทรกรูปภาพเพิ่มเติม ใส่สติกเกอร์ที่บ่งบอกความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแบรนด์ได้มากขึ้น เมื่อใดก็ตามที่แบรนด์เผยแพร่เนื้อหาโฆษณาผ่าน Stories ผู้ติดตามจะได้รับการแจ้งเตือนที่บริเวณด้านบนของแอปฯ ผู้ติดตามสามารถรับการอัปเดตและเนื้อหาใหม่ๆ จากแบรนด์ เปิดโอกาสให้เข้ามามีส่วนร่วมกับบัญชีผู้ใช้งานของแบรนด์มากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ฟีเจอร์ Instagram Stories ถูกแบ่งเนื้อหาจากลำดับการโพสต์ เรียงจากก่อนไปหลังในทุกๆ ครั้งที่คุณเพิ่มเนื้อหาใหม่ๆ เข้าไป ทั้งนี้อีกหนึ่งคุณสมบัติของ Instagram คือสามารถแบ่งแยกประเภทของเนื้อหาให้เข้าสู่หมวดหมู่ต่างๆ ได้อย่างเป็นธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่น เนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาจะได้รับความนิยมเมื่อเผยแพร่ผ่านฟีเจอร์ Stories แต่ถ้าหากคุณเป็นนักรีวิวอาหารผ่านนิตยสารคุณก็สามารถสร้างวิดีโอแบบสั้นๆ เน้นกระบวนการทำอาหารทีละขั้นตอน ไปจนถึงขั้นตอนสุดท้ายที่เป็นการโปรโมทผลิตภัณฑ์ของตนเอง นอกจากนี้แบรนด์ยังสามารถใช้ฟีเจอร์ Stories ในการเผยแพร่เนื้อหาไปยังลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของแบรนด์คุณได้อีกด้วย ตามวิธีทั้งหมดที่กล่าวไปทำให้แบรนด์สามารถพูดคุยกับแฟนๆ ที่จงรักภักดีในตัวแบรนด์ได้โดยตรง ตัดสินใจเป็นพาร์ทเนอร์กับเรา Primal เอเจนซี่รับลงโฆษณาใน IG ได้แล้ววันนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าโปรไฟล์ธุรกิจบน Instagram ของคุณนั้นจะสามารถดำเนินไปอย่างเต็มประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ในขณะที่หลายๆ แบรนด์ส่วนใหญ่พิจารณาเอาว่ากลยุทธ์การตลาดผ่าน Instagram ที่ประสบความสำเร็จจะนำมาซึ่ง ยอดไลค์, ยอดผู้เข้าชมหน้าเว็บไซต์จำนวนมาก เป็นผลพวงมาจากการโพสต์เผยแพร่เนื้อหาเพื่อโปรโมทแบรนด์ อย่างไรก็ตามแบรนด์ควรวางแผนการรันแคมเปญแบบระยะยาวและควรพิจารณาอีกทีหนึ่งว่าจะสามารถสร้างฐานแฟนๆ ที่ชื่นชอบในตัวแบรนด์ตนเองให้กลายเป็นคอมมูนิตี้ได้อย่างไร ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดที่จะบรรลุเป้าหมายที่กล่าวไปแล้วในข้างต้นคือการทำให้โปรไฟล์ Instagram มีการอัปเดตข้อมูลใหม่ๆ สร้างความครึกครื้นอยู่ตลอดเวลา อาจจะเป็นการสร้างบทสนทนาเล็กๆ ใต้คอมเมนท์ของโพสต์ พูดคุยกันระหว่างแบรนด์และผู้ติดตาม จริงๆ แล้วการโพสต์รูปภาพหรือวิดีโอเป็นประจำทุกวันก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี อย่างไรก็ตามในแต่ละโพสต์ก็ควรมีลูกเล่นหรือความน่าสนใจที่แตกต่างกันออกไปเพื่อใช้ในการดึงดูดกลุ่มผู้ชมให้เข้ามาสนใจ แต่ก็ยังคงต้องสามารถรักษามาตรฐานของสิ่งที่แบรนด์ต้องการจะสื่อสารเอาไว้ด้วย
ตามปกติแล้วประเภทของเนื้อหาโปรโมทธุรกิจที่ได้ผลดีที่สุดนั้นขึ้นอยู่กับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ แต่การทดลองผ่านไอเดียที่หลากหลายก็ถือว่าคุ้มค่าอยู่ไม่น้อย เนื่องจากเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ทดลองว่ากลุ่มเป้าหมายชอบที่จะเห็นเนื้อหาแบบไหนมากกว่ากัน ยกตัวอย่างเช่น การเปิดห้องให้บุคคลภายนอกได้มีโอกาสเข้ามาสอบถามเรื่องที่อยากรู้จากผู้บริหารแบรนด์โดยตรง ถือเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ติดตามหรือแฟนตัวยงของแบรนด์ได้เข้ามาทำความรู้จักบุคคลที่อยู่เบื้องหลังแบรนด์ และในขณะเดียวกันทางแบรนด์ก็ยังมีโอกาสได้แสดงความจริงใจต่อลูกค้าอีกด้วย หากแบรนด์มั่นใจว่าได้เผยแพร่สิ่งที่น่าสนใจผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปยังลูกค้าแล้ว หลังจากนั้นอาจจะเปิดโอกาสให้ลูกค้าเข้ามาแสดงความคิดเห็น หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ที่เพิ่งจะเผยแพร่ออกไป เพื่อรับเอาคำติชมหรือข้อคิดเห็นจากบุคคลภายนอกเข้ามาปรับปรุง ทำให้แน่ใจว่าทิศทางของแบรนด์ที่กำลังวางแผนจะเดินไปนั้นถูกทางและเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการอย่างแท้จริง
หลายคนอาจจะเข้าใจผิดคิดว่าธุรกิจประเภท B2B หรือ Business to Business นั้นมีรายได้เพียงเล็กน้อยจากการรันแคมเปญโฆษณาการตลาดบน Instagram สาเหตุอาจจะเป็นในเรื่องของสไตล์เนื้อหาที่ใช้ในการเผยแพร่ ตลอดไปจนถึงกลุ่มเป้าหมายธุรกิจ B2B ที่ไม่ค่อยได้ใช้เวลาในการเสพข่าวหรืออัปเดตข้อมูลผ่าน Instagram เท่าไหร่นัก ทำให้นักการตลาดประเภท B2B อาจปิดใจที่จะมองหาโอกาสในการพัฒนาศักยภาพแพลตฟอร์มออนไลน์ให้แก่ธุรกิจประเภทนี้ อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงแล้วการตลาดบน Instagram ของธุรกิจประเภทนี้ไม่อาจสามารถทำให้แตกต่างไปมากกว่านี้ได้อีกแล้ว ถ้าหากนักการตลาดไม่รู้จักมองหาหนทางการเติบโตผ่านโลกดิจิทัล ทางที่ดีอย่ามองข้ามแพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง Instagram และก็ถือเป็นเรื่องโชคดีอย่างยิ่งที่ Primal เอเจนซี่ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดแบบดิจิทัล (Digital Marketing) ผู้ที่รู้วิธีการออกแบบและรันแคมเปญออนไลน์ สามารถนำพาธุรกิจ B2B สู่ความสำเร็จตามที่ตั้งเป้าเอาไว้แน่นอน
จากงานค้นคว้าวิจัยของ Instagram เองพบว่าในแต่ละวันที่ผู้ใช้งานเข้าชมโปรไฟล์แบบธุรกิจมากกว่า 200 ล้านโปรไฟล์ นั่นหมายความว่าในแต่ละวันทุกแบรนด์ย่อมมีโอกาสในการแสดงศักยภาพและคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ให้แก่กลุ่มผู้ชมได้อย่างหลากหลาย และหนทางสู่ความสำเร็จของธุรกิจ B2B หลายแห่งคือการเปิดเผยข้อมูลเบื้องหลังของธุรกิจ ข้อมูลใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับรากฐานวัฒนธรรมของบริษัท และในขณะเดียวกันก็ต้องไม่ลืมที่จะเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการว่าจ้างพนักงานใหม่, กิจกรรมภายในบริษัท ตลอดไปจนถึงเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานทั่วไปในบริษัทด้วย เพื่อแสดงให้เห็นถึงความจริงใจ ความโปร่งใสที่องค์กรมีต่อบุคคลภายนอก ทั้งยังเป็นการสร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้าในอนาคตได้อีกด้วย Primal ขอเป็นอีกหนึ่งส่วนร่วมในการเข้ามานำพาแคมเปญธุรกิจ B2B ของคุณมุ่งหน้าไปสู่ความสำเร็จ ดึงดูดลูกค้าและเพิ่มยอดการเข้าถึงมากยิ่งขึ้นไปอีก
แอปพลิเคชัน Instagram นั้นคือแพลตฟอร์มสุดเจ๋งที่ทำหน้าที่ได้อย่างดีเยี่ยมตลอดมาอย่างไม่ต้องสงสัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ให้แก่แบรนด์คุณ ตามหลักการโดยทั่วไปแล้วธุรกิจเองย่อมต้องการที่จะดึงดูดให้ลูกค้าหันมาสนใจผลิตภัณฑ์อยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว แต่เนื่องจากการตลาดผ่าน Insagram ที่มีจุดมุ่งหมายชัดเจนว่าต้องการเพิ่มมูลค่าของสินค้าที่จะโปรโมท ใส่รายละเอียดที่ลูกค้าต้องการได้อย่างชัดเจนโดยไม่ต้องทำโฆษณาแฝง แถมผลลัพธ์ที่ได้กลับมายังไม่แตกต่างอะไรกับการทำโฆษณาแฝงทั่วไปอีกด้วย ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นแล้วแบรนด์อาจจะพิจารณาว่าสามารถใช้แพลตฟอร์มในการโปรโมทองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรแต่ก็ยังมีความข้องเกี่ยวกับแบรนด์ได้หรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นแล้วถือว่าเป็นพาร์ทเนอร์ซึ่งกันและกัน นำพาเข้าสู่สถานการณ์ที่จะได้รับผลประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย (Win-Win Situation) เพื่อเป็นการคืนสิ่งดีๆ สู่สังคมและโซเชียลมีเดีย อีกทั้งยังสามารถสร้างชื่อเสียงกลับคืนสู่แบรนด์ได้อีกด้วย
ไม่ว่าคุณจะต้องการโปรโมทแบรนด์ผ่านหน้า Feed หรือ Stories ก็ตามแต่ คุณเองสามารถสร้างเนื้อหาที่มีความน่าสนใจและดึงดูดกลุ่มผู้ชมได้ อย่างไรก็ตามแต่ อันดับแรกแนะนำให้ติดต่อกับองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรที่คุณเลือกเสียก่อน พิจารณาดูว่าคุณสามารถนำเสนอไอเดียในการทำแคมเปญเพื่อโปรโมทกิจกรรมให้แก่องค์กรนั้นๆ ในรูปแบบไหนได้บ้าง โดยอาจจะมาในรูปแบบของการกล่าวถึงองค์กรหรือกองทุนนั้นๆ แบบง่ายๆ ผ่านโพสต์ของคุณหรืออาจจะสร้างแคมเปญเพื่อช่วยระดมทุนให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ แต่ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตามแต่การกระตุ้นด้วยการโพสต์ผ่าน Instagram นั้นถือเป็นการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรงถ้าหากแบรนด์รู้จักกลุ่มเป้าหมายของตนเองเป็นอย่างดี โดย Primal เองสามารถนำเสนอแนวคิด หรือไอเดียในการทำแคมเปญใหม่ๆ ที่ดึงดูดความสนใจจากผู้คนและกระตุ้นการตัดสินใจ (Call-To-Action) ให้แก่แบรนด์คุณได้เป็นอย่างดี
การแสดงเนื้อหาผ่านวิดีโอยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเข้าสู่แวดวง Digital Marketing รวมไปถึงแอปฯ Instagram เองก็ยังคงมุ่งมั่นที่จะนำเสนอเนื้อหาแบบวิดีโออย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่าผู้ใช้งานสามารถโพสต์เนื้อหาที่เป็นวิดีโอได้ทั้งในหน้า Feed และ Stories มาได้หลายปีแล้ว และกับฟีเจอร์ใหม่ล่าสุดที่เพิ่มเข้ามานั่นก็คือ IGTV ตัวละครสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงสัญญาณการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเลยก็ว่าได้ แม้ว่าตัวฟีเจอร์ IGTV เองจะเปิดให้ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดเป็นแอปพลิเคชันแยก แต่การใช้งานโดยส่วนใหญ่ก็ยังคงถูกนำมารวมเข้ากับแพลตฟอร์มปกติทั่วไป เหมือนกับ YouTube สำหรับการตลาดผ่าน IGTV เองนั้นมีคุณสมบัติเด่นๆ เลยนั่นก็คือสามารถอัปโหลดวิดีโอที่มีความยาวได้สูงสุดถึง 1 ชั่วโมง แบรนด์ต่างๆ สามารถมั่นใจได้เลยว่าหากต้องการเผยแพร่เนื้อหาที่มีความยาวเป็นพิเศษ IGTV คือฟีเจอร์ที่เหมาะสมในการเริ่มต้นเป็นอย่างยิ่ง
ทีมผู้ผลิตเนื้อหาที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ จาก Primal จะเข้ามาตรวจสอบผลิตภัณฑ์และทำหน้าที่พัฒนาให้ออกมากลายเป็นวิดีโอในการโปรโมทแคมเปญทางการตลาดที่ได้ผล จากการพิจารณาพบว่าผู้คนส่วนใหญ่กว่า 54% ต้องการรับชมเนื้อหาวิดีโอที่มาจากธุรกิจที่ตนเองให้ความสนใจและติดตาม และในขณะที่อีก 72% ชอบที่จะรับชมเนื้อหาเป็นวิดีโอมากกว่าการอ่านข้อมูลผลิตภัณฑ์จากบทความเพียงอย่างเดียว สถิติเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าในการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดออนไลน์นั้นควรบรรจุเนื้อหาที่เป็นวิดีโอรวมเอาไว้ด้วย ในขณะเดียวกันถ้าหากแบรนด์สร้างเนื้อหาที่เป็นวิดีโอความยาวประมาณหนึ่งเอาไว้สำหรับเผยแพร่บน YouTube ก็สามารถนำวิดีโอเหล่านั้นมาโพสต์ซ้ำอีกครั้งบน Instagram ผ่านฟีเจอร์ IGTV เพื่อสร้างผลกระทบในเชิงบวกบนโลกโซเชียลให้ได้มากที่สุด จากการเผยแพร่ข้อมูลในเชิงให้ความรู้ อธิบายรายละเอียดต่างๆ ตลอดไปจนถึงบอกเล่าจุดแข็งของตัวผลิตภัณฑ์เป็นเรื่องราวผ่านเนื้อหาแบบวิดีโอบน IGTV จะช่วยสร้างปรากฏการณ์ใหม่ๆ ทำให้เนื้อหาที่เผยแพร่นั้นสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้งาน Instagram ได้มากขึ้นกว่าเดิม
พลังของการ Streaming Live หรือการถ่ายทอดสดจะเป็นอะไรที่ไม่สามารถมองข้ามได้อีกต่อไป หากเปรียบเทียบกับปัจจุบันที่แพลตฟอร์มออนไลน์เกิดใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ ผู้ใช้งานสามารถถ่ายทอดสดได้ทุกเมื่อที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook, YouTube, Twitch ตลอดไปจนถึงแพลตฟอร์มอื่นๆ จะเห็นได้ว่าการถ่ายทอดสด (Live-Streaming) นั้นกลายมาเป็นช่องทางที่แบรนด์สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ พูดคุย ถาม-ตอบกับกลุ่มผู้ชมหรือผู้ติดตามได้แบบเรียลไทม์ นอกจากนี้แบรนด์ยังสามารถใช้ช่องทางการถ่ายทอดสดในการเพิ่มยอดการเข้าถึง ทำให้แบรนด์กลายเป็นที่รู้จักในวงกว้าง แต่ก็ยังมีอีกหลายแบรนด์ที่ไม่แน่ใจว่าจะสามารถถ่ายทอดสด Live Streaming ให้ได้ผลตอบรับที่ดีที่สุดได้อย่างไร หากว่าสามารถจับจุดและหาแนวทางเฉพาะของตนเองเจอแล้วละก็ รับรองว่าแบรนด์จะสามารถดึงดูดผู้ใช้งานให้เข้ามาสนใจการถ่ายทอดสดและแซงหน้าคู่แข่งไปในที่สุด
หากแบรนด์ตัดสินใจที่จะใช้ฟีเจอร์ Instagram Live ในการเผยแพร่ข้อมูลแล้วละก็ มีโอกาสอีกมากมายในการสร้างเนื้อหาให้ดึงดูดและเป็นที่น่าสนใจ อย่างไรก็ตามต้องวางแผนอย่างรอบคอบก่อนให้ดีเสียก่อนที่จะเข้ามาไลฟ์ หลักการที่ดีคือแบรนด์ไม่สามารถเข้ามาไลฟ์เมื่อใดก็ตามที่ตนเองรู้สึกอยากจะทำ หากคำนึงถึงยอดการเข้าถึงและการเป็นที่รู้จักของแบรนด์แล้วนั้นก็ขอให้แน่ใจว่าจุดประสงค์ของการไลฟ์ที่แบรนด์ต้องการนั้นคืออะไร แน่นอนว่าคงไม่มีใครอยากให้ผู้รับชมไลฟ์รู้สึกเบื่อ หากแต่อยากจะสร้างความสนุก ความน่าตื่นเต้น ทำให้ผู้ชมรู้สึกสนใจอยากจะเข้ามาดูไลฟ์ในทุกๆ ครั้งที่เห็นการแจ้งเตือนจากแบรนด์ และทุกครั้งก่อนจะไลฟ์แบรนด์ควรแจ้งเตือนเป็นตารางที่แน่ชัดเอาไว้ทั้งใน Instagram Stories และโพสต์บนหน้า Feed จะดีกว่า นอกจากนี้แนะนำให้แบรนด์เตรียมตัวตอบคำถาม ในกรณีที่ผู้ชมอาจจะมีข้อซักถามหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับแบรนด์หรือตัวผลิตภัณฑ์เอาไว้ด้วย เพื่อแสดงให้เห็นถึงความพร้อมในการเตรียมตัว
นับเป็นเรื่องที่ดีในการสร้างโพสต์หรือเนื้อหาคุณภาพเยี่ยมผ่าน Instagram แต่อย่างไรก็ตามหากว่าผู้ติดตามไม่ได้เปิดใช้งานแอปฯ ในขณะที่คุณเผยพร่เนื้อหาหรือรูปภาพก็คงจะเป็นเรื่องน่าเสียดาย เรียกได้ว่าเป็นปัญหายอดนิยมที่ทุกๆ แบรนด์ต้องประสบพบเจอ หากไปค้นหาบนอินเทอร์เน็ตก็จะพบว่าคำค้นหายอดนิยมจากแบรนด์ต่างๆ นั่นก็คือช่วงเวลาไหนจึงจะเหมาะสมที่สุดในการเผยแพร่เนื้อหา? หากเป็นเรื่องของช่วงเวลาแล้วนั้นก็คงเป็นสิ่งที่แบรนด์ต้องย้อนกลับมาดูที่หน้าสถิติของผู้ใช้งานและเป้าหมายที่แบรนด์ตั้งเอาไว้ ขอแค่จำเอาไว้ว่าทุกแบรนด์ล้วนย่อมต้องมีกลุ่มผู้ชมหรือกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันออกไป กลุ่มผู้ติดตามของแบรนด์หนึ่งอาจจะรวมตัวเป็นกลุ่มก้อนอยู่ที่สถานที่แห่งหนึ่งที่อยู่ในไทม์โซนเดียวกัน แต่ในขณะเดียวกันกลุ่มผู้ติดตามของอีกแบรนด์หนึ่งอาจจะกระจายอยู่ที่มุมต่างๆ ของโลกที่มีไทม์โซนแตกต่างกันก็เป็นได้ จึงแนะนำให้อ้างอิงจากสถิติข้อมูลกลุ่มผู้ติดตามของแบรนด์ตนเอง เพื่อให้ได้มาซึ่งเวลาในการสร้างโพสต์ที่เหมาะสมที่สุดกับบัญชีผู้ใช้งาน Instagram ของแบรนด์คุณนั่นเอง
โดยปกติแล้วแบรนด์คุณเองอาจจะต้องการพัฒนาตารางการสร้างโพสต์ให้ไปอยู่ในช่วงเวลาที่ดึงดูดกลุ่มผู้ชมให้ได้มากที่สุด โพสต์ที่เผยแพร่ออกไปอย่างน้อยๆ ต้องปรากฏในสายตาของกลุ่มผู้ติดตามที่กำลังใช้งาน Instagram อยู่ ณ ขณะนั้น เพื่อให้ได้มาซึ่งการมีปฏิสัมพันธ์ นำมาซึ่งผลลัพธ์อันดีเยี่ยมจากโพสต์นั้นๆ แม้ว่าการวิเคราะห์ข้อมูลจาก Instagram เองจะทำให้คุณสามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึก ทราบว่าเวลาไหนที่เหมาะสมที่สุดในการเผยแพร่เนื้อหาหรือสร้างโพสต์ แต่ถ้าหากมีโอกาสแนะนำให้ทดลองโพสต์ในช่วงเวลาที่แตกต่างกันออกไปก็จะดี ไม่แน่ตัวแบรนด์เองอาจจะค้นพบว่าการสร้างโพสต์ในช่วงเวลาหนึ่งของวันอาจเป็นที่มาของการเข้ามามีส่วนร่วมหรือได้รับผลตอบรับจากบรรดาผู้ติดตามที่ดีเยี่ยมในระยะยาวก็เป็นได้ จากงานวิจัยหลากหลายที่บ่งบอกว่าในหนึ่งวันนั้นย่อมมีหลายเวลาที่เหมาะสมในการสร้างโพสต์หรือเผยแพร่เนื้อหา Primal เองยินดีที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างแคมเปญการตลาดบน Instagram แพลตฟอร์มสุดคึกคักที่มีผู้ใช้งานแทบจะตลอดวันแบบ 24 ชั่วโมง
เพราะ Instagram นั้นคือแพลตฟอร์มที่เหมาะสมอย่างยิ่งในการทำ Digital Marketng นำมาซึ่งผลลัพธ์ที่น่าเหลือเชื่อ อย่างไรก็ตามแบรนด์ควรใช้แนวทางในเชิงกลยุทธ์ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่แบรนด์ตั้งเอาไว้ พิจารณาง่ายๆ ว่าในปัจจุบันมีผู้ใช้งานกว่า 25 ล้านแห่งที่เปิดบัญชีผู้ใช้งาน Instagram เพื่อจุดประสงค์เดียวกันกับคุณนั่นก็คือการใช้งานในเชิงธุริจ ดังนั้นคุณคงไม่ต้องการที่จะสร้างโพสต์แบบสุ่มๆ ขึ้นมาสักอันหนึ่งแล้วเผยแพร่ออกไปโดยไม่ได้คิดอะไรอย่างแน่นอน ดังนั้นการรู้จักวางแผนผ่าน Content Calendar หรือตารางการเผยแพร่เนื้อหาที่ชัดเจนจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพื่อให้คุณสามารถมองเห็นภาพรวมและพิจารณาโดยรอบได้ว่าในแต่ละเนื้อหาที่คุณตั้งใจจะเผยแพร่นั้นสามารถดึงดูดผู้ติดตามได้อย่างไรบ้าง สามารถสร้างการรับรู้ให้กับแบรนด์ (Brand Awareness) ได้มากน้อยเท่าไหร่ ยกตัวอย่างเช่น การเลือกสีใดๆ ก็ได้ที่ทำให้ผู้คนเห็นแล้วจะนึกถึงแบรนด์คุณเป็นอันดับต้นๆ จะสอดแทรกเนื้อหาอย่างไรให้สอดคล้องกับแคมเปญที่เคยรันไปแล้วก่อนหน้านี้ เป็นต้น
ในภาพรวมของกลยุทธ์การตลาดผ่าน Instagram นั้นมีหนทางการพิสูจน์ความสำเร็จอยู่มากมายเลยทีเดียว ทั้งหมดทั้งมวลก็ขึ้นอยู่กับว่าสิ่งไหนที่เหมาะสมที่สุดกับแบรนด์คุณ อย่างไรก็ตามแนวทางการปฏิบัติก็ต้องสะท้อนคุณค่าความเป็นแบรนด์ตลอดไปจนถึงจะต้องเสริมคุณสมบัติหลักของผลิตภัณฑ์และการให้บริการไปด้วยในตัว ทั้งหมดล้วนเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความไว้วางใจให้แก่บรรดาผู้ติดตาม หากแบรนด์มีความประสงค์ที่จะพัฒนาผู้ติดตามเหล่านี้ให้กลายมาเป็นลูกค้าในอนาคต จากรายละเอียดต่างๆ ที่อยู่ในตารางการเผยแพร่เนื้อหาจะทำให้แบรนด์สามารถมองเห็นภาพรวมโดยคร่าวๆ ว่าเนื้อหาในแต่ละโพสต์จะสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างไร เพื่อให้ดำเนินไปตามแผนการตลาดบน Instagram ทำให้แบรนด์สามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจเอาไว้ได้
แคมเปญ Giveaway หรือการจำแนกแจกจ่ายของรางวัลออกไปให้แก่ผู้ติดตามนั้นถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์การทำ Digital Marketing ที่ผ่านการทดสอบมาแล้วว่าให้ผลลัพธ์ที่ดีเยี่ยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งบน Instagram สำหรับแบรนด์ไหนๆ ที่กำลังมองหาหนทางใหม่ๆ ในการดึงดูดกลุ่มผู้ติดตามหรือขยายการเข้าถึงให้มากขึ้นกว่าเดิมแล้วละก็ สามารถตอบโจทย์ความต้องการทั้งหมดด้วยการวางแผนอย่างรอบคอบ อาจจะฟังดูเหมือนว่าแคมเปญ Giveaway หรือการแจกจ่ายของให้กับบรรดาผู้ติดตามนั้นเปรียบเสมือนเป็นการแจกจ่ายสินค้าทางเดียว แต่หลายๆ แบรนด์ก็คิดค้นวิธีที่จะทำให้ผู้ติดตามทำอะไรเป็นการแลกเปลี่ยนกลับคืนสู่แบรนด์ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ติดตามที่กดไลค์โพสต์หรือแท็กชื่อเพื่อนต่อกันไปเป็นทอดๆ ถือเป็นอีกหนึ่งทางอ้อมที่ช่วยการันตีได้บ้างว่าผู้ติดตามจะย้อนกลับมาดูหน้าโปรไฟล์ของแบรนด์และอาจจะกลายมาเป็นลูกค้าระยะยาวในอนาคตก็เป็นได้ เมื่อใดก็ตามที่แบรนด์เองตั้งเป้าหมายในกลยุทธ์การตลาดบน Instagram เอาไว้อย่างชัดเจนด้วยการทำ Giveaway อยู่เรื่อยๆ แล้วนั้น โอกาสที่จะประสบความสำเร็จก็มีสูงมากเช่นกัน
เมื่อแบรนด์ตัดสินใจจะโปรโมทแคมเปญ Giveaway ก็มีบางสิ่งที่คุณควรคำนึงถึงอีกเช่นกัน อันดับแรก ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้ระบุรายละเอียดแคมเปญการแข่งขันเอาไว้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น กติกาการเข้าร่วมสนุก ตลอดไปจนถึงระยะเวลาการแข่งขัน ฯลฯ เพื่อไม่ทำให้ลูกค้าผิดหวังหรือพลาดการเข้าร่วมสนุก เมื่อการแข่งขันสิ้นสุดลง ลำดับถัดมาที่แบรนด์ต้องทำนั่นก็คือการสร้างอีกหนึ่งโพสต์แยกเพื่อสรุปผลกิจกรรมการแข่งขัน อีกทั้งยังเป็นการโปรโมทแคมเปญไปด้วยในตัว และเพื่อเป็นการดึงดูดลูกค้าใหม่ๆ ทำให้แบรนด์คุณยังคงอยู่ในความสนใจของตลาดอยู่เสมอๆ นั่นเอง
เมื่อใดก็ตามที่คุณสร้างโฆษณา (Ads) แล้วเสนอราคาที่ต้องการจะจ่ายโดยใช้ระบบเดียวกับ Facebook ไม่ว่าจะเป็นการเสนอราคาด้วยตนเองหรือด้วยระบบอัตโนมัติก็ตามแต่ เงินส่วนหนึ่งที่คุณจ่ายเอาไว้สำหรับเป็นค่าบริการจะถูกหักไปเพื่อใช้จ่ายให้กับแพลตฟอร์ม Instagram ทั้งนี้เนื่องจาก Facebook และ Instagram มีอัตราการชำระค่าบริการที่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับขั้นตอนการเสนอราคาและการแข่งขัน ณ ขณะนั้น แต่ถ้าหากแบรนด์กำหนดค่าใช้จ่ายเป็นแบบงบประมาณรายวันอย่างเช่น ตั้งไว้ที่วันละ 1,000 บาท ก็จะช่วยให้งบไม่บานปลายออกไปได้ ที่สำคัญผลลัพธ์ที่ได้กลับมาก็เป็นที่น่าพึงพอใจเลยทีเดียว ร่วมงานกับผู้มีประสบการณ์ด้าน Digital Marketing โดยตรงอย่าง Primal ผู้เชี่ยวชาญที่รับลงโฆษณาบน IG ทำให้คุณมั่นใจได้ว่าเราจะสามารถสร้างโฆษณาผ่าน Instagram เพื่อโปรโมทแบรนด์คุณ พร้อมกับผลลัพธ์ที่ตอบโจทย์ตรงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
เมื่อเริ่มต้นทำแคมเปญโฆษณาบน Instagram แน่นอนว่ามีสองตัวเลือกที่ต้องตัดสินใจ นั่นก็คือ Instagram Story Ads กับ Feed Ads แต่ต้นทุนของทั้งสองตัวเลือกนี้ก็ย่อมแตกต่างกันออกไปด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามธุรกิจส่วนใหญ่ต่างมีความเห็นว่าการลงทุนแบบเมื่อก่อนมีความคุ้มค่ามากกว่า แต่ก็ขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัยด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มเป้าหมาย, อุตสาหกรรม, เวลาและสถิติของกลุ่มผู้ใช้งาน ซึ่งเป็นปัจจัยอันดับสุดท้ายที่จะกำหนดต้นทุนการทำโฆษณาผ่าน Instagram จะถูกหรือแพงก็ขึ้นอยู่กับมุมมอง แต่ถ้าหากยอด CPC หรือ Cost Per Click นั้นอยู่ที่ราคา 20 บาท แต่นำมาซึ่งลูกค้าใหม่จำนวนทั้งหมด 1,000 คนที่อาจจะมีอัตราการใช้จ่ายสูง อาจจะพิจารณาได้ว่า CPC ราคา 20 นั้นนำมาซึ่ง ROI หรือ Return of Investment มหาศาล ดังนั้นจึงถือว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่าแก่การลงทุน
Primal ประเทศไทย บริษัทดิจิทัลเอเจนซี่ที่ได้รับรางวัลและมีประสบการณ์มากมายในการทำแคมเปญโฆษณาบน Instagram เนื่องจากเรามีทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่สามารถผลิตชิ้นงานคุณภาพเกินกว่าที่คุณคาดหวังเอาไว้ เพราะเรามีความเข้าใจเป็นอย่างยิ่งว่ากลยุทธ์การตลาดบน Instagram นั้นมีการพัฒนาอย่างไรในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และเพื่อเป็นการประมวลผลเกี่ยวกับการเกี่ยวกับระบบการตลาดบน Instagram อีกทั้งในขณะเดียวกัน Primal เองก็สามารถเข้าถึงเครื่องมือจำนวนมาก เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าแคมเปญของเราจะนำมาซึ่งความสำเร็จในทุกๆ ครั้ง เลือก Primal เป็นตัวช่วยในการทำ Digital Marketing แล้วคุณจะรู้ว่าทำไมเราจึงกลายเป็นดิจิทัลเอเจนซี่ที่โดดเด่นในเรื่องการทำโฆษณาบน Instagram อันดับต้นๆ ในประเทศไทย
หากยังไม่แน่ใจว่าแบรนด์ของคุณจะได้อะไรบ้าง เราสามารถแสดงให้คุณเห็นว่าทำไมคนทั่วโลกจึงมองว่าเป็นการทำการตลาดที่คุ้มค่า เพราะเราได้นำเสนอแคมเปญออนไลน์บน Instagram ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจว่าเราจะสามารถเพิ่มยอดการเข้าถึง (Reach) และยอด Conversion Rate ได้เต็มประสิทธิภาพ นอกจากนี้ทีมงานมืออาชีพของเรายังสามารถให้คำแนะนำลูกค้าได้ในทุกแง่มุมของการทำแคมเปญออนไลน์ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่ดีที่สุดจากงบประมาณที่ลูกค้ามีอยู่ ติดต่อเรา Primal บริษัทรับทำโฆษณาบน IG มาดูกันว่าคุณจะสามารถบรรลุเป้าหมายทางการตลาดบน Instagram ให้กับธุรกิจคุณได้อย่างไร
ผู้เชี่ยวชาญ
แบรนด์พาร์ตเนอร์
สาขาในเอเชีย
โฆษณา Instagram คือตัวเลือกที่ให้คุณสามารถสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายผ่านคอนเทนต์รูปแบบต่างๆ เช่น ภาพ วิดีโอ ข้อความ ลิงก์
ส่วนมากงบในการยิงโฆษณาที่แบรนด์จะต้องจ่ายจะมีช่วงกว้างๆ อยู่ที่ 6.5-650 บาท/1 คลิก หากใช้เป็น Cost per click (CPC) แต่หากคุณใช้เป็น Cost per mille (CPM) ก็จะอยู่ที่ประมาณ 170 บาท/ 1,000 impressions
ต่างกัน แต่คุณยังสามารถตั้งค่าและควบคุมผ่านฟีเจอร์เดียวกันอย่าง Facebook Business Manager ได้
โฆษณา Instagram จะแสดงให้คนๆ หนึ่งเห็นโดยพิจารณาจากสิ่งที่เขาติดตาม และ Like บน Instagram รวมไปถึงความสนใจตามที่แสดงบน Facebook และเว็บไซต์ที่เคยเข้าไปเยี่ยมชมด้วย
Instagram Stories ช่วยให้คุณแชร์รูปภาพหรือวิดีโอที่ความยาวไม่เกิน 15 วินาที โดยจะแสดงผลบน Story ของผู้ใช้นั้นประมาณ 24 ชม.