In Alphabetical order:

Q:

Why Is Seo & Why Is It Important

#:

301 Redirect หรือ รีไดเรก 301 คือ เลขโค้ดที่บอกว่าเราได้เปลี่ยนหน้าอย่าง “ถาวร” จากหน้าเก่ามาเป็นหน้าใหม่ (URL เก่า ไปยัง URL ใหม) ซึ่งเวลาคนกดหน้าเก่าลิงก์เข้ามา จะเข้ามาที่หน้าใหม่โดยอัตโนมัติ ในส่วนนี้ยังคงให้ Google เข้าใจว่าเป็นหน้าที่ยังใช้อยู่ และยังคงติดอันดับเช่นเดิมได้ ไม่ต้องเริ่มต้นใหม่

302 Redirect หรือ รีไดเรก 302 คือ เลขโค้ดที่บอก Google ว่าเราย้ายให้คนไปที่หน้าใหม่แบบชั่วคราว การทำแบบนี้อาจจะเป็นการกำลังปรับปรุงหน้าเก่าอยู่ หรือกำลัง A/B testing อะไรบางอย่าง แต่สุดท้ายยังคงกลับมาใช้หน้าเดิมให้คนค้นหาแล้วเจอ

404 Error หรือ 404 Not Found คือ แสดงผลว่าหน้านั้นไม่มีอีกแล้ว ไม่สามารถแสดงข้อมูลที่ต้องการได้ หรือเกิดจากข้อผิดพลาดในเชื่อมลิงก์ไปยังลิงก์ที่ผิดพลาด ไม่มีหน้าURL นั้นแล้ว ในส่วนนี้ ถ้าเรามีหน้าที่เหมือนเสียอยู่บนเว็บไซต์ อาจะส่งผลต่อ SEO ranking ทางที่ดีควรแก้ไข เพื่อให้สุดท้ายแล้วเรายังคงสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่คนที่เข้ามาเว็บไซต์เรา

A:

Algorithm หรือ อัลกอรึทีม คือ ระบบในการจัดการข้อมูลต่างๆ เพื่อนำเสนอขึ้นมา ที่เป็นที่รู้จักคือ Google algorithm คือกระบวนการจัดอันดับเว็บไซต์ในหน้าการค้นหาของ Google ซึ่งนอกเหนือจากฝั่งของ Google algorithm แล้วก็ยังคงมีฝั่งของ Facebook อีกด้วย เช่นการเรียงเนือ้หา หรือเลือกโฆษณามาแสดงผลกับผู้ใช้ ซึ่ง algorithm ของแต่ละแพลตฟอร์มก็แตกต่างกัน

Alt text หรือ Alternative Text คือ การใส่รายละเอียดเป็นตัวอักษรเพื่ออธิบายภาพว่าเกี่ยวข้องกับอะไร ให้ Google Bot สามารถเข้าใจได้ โดยเมื่อใส่คำอธิบายแล้วจะสามารถช่วยเพิ่มโอกาสให้คนค้นหาผ่านรูปบน Google ซึ่งถ้าทำ SEO ในส่วนนี้ควรทำอย่างยิ่ง

Anchor text คือ การที่คีเวิร์ดหรือคำที่อยู่ในบทความ สามารถกดลิงก์ออกไปยังหน้า URL อื่นๆ ได้ เพื่ออ่านเพิ่มเติม หรือดูข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่อไป ส่วนใหญ่คำที่เป็น Anchor text จะเห็นเป็นสีฟ้า หรือน้ำเงินและมีขีดเส้นใต้ และสามารถกดไปยังที่อื่นได้ และในแง่ของ SEO การทำ Anchor text โดยลิงก์ไปยังหน้าอื่นๆ ภายในเว็บไซต์เดียวกัน ก็จะช่วยให้ Google เข้าใจเนื้อหาผ่านคีเวิร์ดที่เป็น anchor text อีกด้วย ซึ่งถ้าลิงก์ไปยังหน้า URL ภายใต้เว็บไซต์เดียวกัน จะเรียกอีกชื่อว่า Internal link

Audience คือ ฐานข้อมูลของกลุ่มคนที่เราต้องการสื่อสาร ส่งข้อความต่างๆ ไปหา เช่น โฆษณาของแบรนด์เรา เราสามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่เราจะเลือกสื่อสารได้ เพื่อให้การโฆษณาหรือการส่งสารของเราไปยังกลุ่มคนที่ใช่ที่สุดสำหรับเรา

B:

Backlinksหรือ แบคลิงก์ คือ การที่เว็บไซต์อื่นๆ ลิงก์กลับมาหาเรา (ผู้คนอ่านบทความ เจอลิงก์ในบทความ แล้วกดมาเข้าเว็บไซต์เรา) ซึ่งบางคนอาจจะเรียกว่า Inbound Link หรือ Incoming Link ซึ่ง Backlink เป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีผลกับการทำ SEO เนื่องจากเป็นตัวช่วยให้ Google เข้าใจบริบทของเนื้อหา และช่วยให้ผู้ใช้งานไปอ่านเพิ่ม หรือได้ข้อมูลเพิ่มเติมในหน้าใหม่ๆ

Bot (Google Bot) หรือ Spider ที่หลายๆ คนรู้จักคือ เครื่องมือของทางฝั่ง Google ที่วิ่งเข้ามาเก็บข้อมูลบนหน้าต่างๆ ของเว็บไซต์เรา เพื่อที่จะเข้าใจว่าหน้าต่างๆเกี่ยวกับอะไร และเมื่อผู้คนค้นหาด้วยคำต่างๆ จะสามารถแสดงหน้าที่ถูกเก็บข้อมูลนั้นออกมาแสดงผล

Bounce rate คือ อัตราที่คนเข้ามาเว็บไซต์ของเรา แล้วอยู่หน้านั้นๆ เพียงหน้าเดียว และออกไป ยิ่งมีคนเข้ามาแล้วออกไปเยอะ เกิน 70% จะถือว่าสูง สามารถดูผลได้ที่ Google analytic และเลขที่ดูดีคือ Bounce rate อยู่ที่ประมาณ ต่ำกว่า 40%

C:

CTA (Call to Action) คือ ปุ่มที่มีคำบรรยายให้คนกดคลิก บนโฆษณา หรือบนเว็บไซต์ ที่เป็นจุดสุดท้ายเพื่อให้คนเข้าถึงธุรกิจเรา เช่น เข้าชมเว็บไซต์ กรอกข้อมูลลงแบบฟอร์มออนไลน์ หรือกดสั่งซื้อสินค้า คำทั่วๆ ไปที่เจอบน CTA ตัวอย่างเช่น ซื้อเลย! กรอกข้อมูลเพื่อรับส่วนลด! ลงทะเบียนตอนนี้! โดย CTA จะเน้นกับการทำให้คนอยากคลิก

CTR (Click Thru Rate) คือ อัตราการคลิกจากการมองเห็น ซึ่งคิดจาก จำนวนการคลิก ÷ จำนวนการแสดงผล แล้วค่อยคูณด้วย 100 หรือ (Click ÷ Impression) * 100

Conversions หรือ คอนเวอร์ชัน คือ การกระทำของกลุ่มบุคคลที่เราต้องการให้เค้าเกิดพฤติกรรมนั้นๆ เช่น เราโฆษณา ต้องการให้คนกรอกแบบสอบถาม พอคนเห็นโฆษณาแล้วกดกรอกข้อมูล ตามที่เราต้องการ ก็จะนับเป็น conversion หรือเราโฆษณาขายของผ่าน Facebook พอมีคนกดซื้อของก็เรียกว่าได้ conversion ซึ่งในทางการตลาดคอนเวอร์ชันนี้้มีหลายแบบแล้วแต่ธุรกิจจะกำหนดสิ่งที่ต้องการวัดคืออะไร

CPA (Cost per Acquisition) คือ การคิดค่าใช้จ่ายต่อจำนวนการกระทำ ซึ่งคิดจาก ราคาที่จ่ายไป ÷ จำนวนที่เกิด conversion

CPC (Cost per Click) คือ การคิดค่าใช้จ่ายต่อจำนวนการคลิก ซึ่งคิดจาก ราคาที่จ่ายไป ÷ จำนวนคลิกที่เกิดขึ้น

CPL (Cost per Lead) คือ การคิดค่าใช้ต่ายต่อจำนวน lead ซึ่งคดิจาก ราคาที่จ่ายไป ÷ จำนวนLead ที่เกิดขึ้น ซึ่ง CPL คล้าย CPA ในแง่ของการได้มาซึ่งลูกค้า (ไม่ว่าจะกรอกฟอร์ม ดาวโหลดสิ่งต่างๆ หรือเกิดการซื้อ) แต่ CPA จะเน้นเหมือนได้คนใหม่เข้ามาในธุรกิจ ส่วน CPL เน้นเป็นลูกค้าที่ได้รับการ qualified แล้ว

CPM (Cost per Thousand) คือ การคิดค่าใช้จ่ายต่อการเห็น 1000 ครั้ง ซึ่งคิดจาก (ราคาที่จ่ายไป ÷ จำนวนการแสดงผล)*1000 หรือ (ราคา ÷ Impression)*1000

Crawl หรือ Crawling คือ กระบวนการที่เว็บไซต์จะถูกค้นเจอโดย Bots (Google bot) แล้วจะถูกเก็บข้อมูล โดยการเก็บข้อมูลจะเก็บในหน้าใหม่ที่เกิดขึ้น รวมถึงหน้าเก่าที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข เพื่อให้เวลาผู้ใช้งานค้นหาคำ ระบบของ Google จะสามารถดึงเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับคำออกมาแสดงผลได้

D:

Demographics หรือ ข้อมูลทางประชากรศาสตร์ คือ สิ่งที่แสดงถึง อายุ เพศ รายได้ สถานที่ พฤติกรรมของกลุ่มบุคคลต่างๆ ส่วนมากจะต้องใช้ในการทำโฆษณาและแสดงผล ว่ากลุ่มไหนมีพฤติกรรมใดบ้าง เพื่อให้โฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ดีที่สุดและตรงกับแบรนด์มากที่สุด

Domain หรือ โดเมน คือ ชื่อของเว็บไซต์ เช่น เรามี URL www.primal.co.th/seo ดังนั้นโดเมนคือ primal.com. บางคนจะตั้งชื่อโดเมนเป็นชื่อแบรนด์ของตัวเอง หรือชื่อที่ทำให้คนจำง่าย

Dofollow คือ การที่เราให้ bot ของ Google ติดตามไปยังลิงก์ปลายทาง เช่น เว็บไซต์ A มีลิงก์ออกแบบ Dofollow ไปเว็บไซต์ B ดังนั้น Google bots จะอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ A แล้วตามออกไปยังเว็บไซต์ B ผ่านลิงก์ ซึ่งได้เว็บไซต์ B ได้ลิงก์ที่ดีที่จากเว็บไซต์ A ที่มีคุณภาพ ในส่วนนี้อาจมีผลต่อการทำ SEO ด้วย

Domain Authority คือ ความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์แต่ละเว็บไซต์ ถ้าเว็บไซต์ที่มีคุณภาพ มีเนื้อหาที่ดี มีการนำลิงก์ออกไปยังเว็บไซต์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน ตัวเว็บไซต์เองสร้างประสบการณ์ที่ดีต่อผู้ใช้ มีคนพูดถึงเว็บไซต์เราในทางที่ดี ผ่านการให้ลิงก์ ในส่วนนี้ก็ทำให้คะแนนความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์เราดีด้วย

E:

Email Marketing คือ การส่งอีเมลล์เพื่อวัตุประสงค์จะได้บางอย่างกลับมาจากบุคคลเหล่านั้น หรือเพิ่มช่องทางให้ธุรกิจได้เชื่อมต่อกับกลุ่มที่คาดว่าจะเป็นลูกค้าในอนาคต การส่งอีเมลล์มาเก็ตติ้งอาจจะได้เป็น ชื่อ-รายละเอียดคนจากการกรอกแบบฟอร์ม การได้ยอดขาย การโปรโมต ซึ่งการส่ง Email Marketing นั้น ส่วนใหญ่จะส่งไปหารายชื่อที่ธุรกิจมีเก็บไว้ โดยการส่ง 1 ครั้งจะไปยังกลุ่มคนพวกนี้และเป็นจำนวนมาก

External Link คือ การที่เว็บไซต์ มีการติดลิงก์เพื่อให้ผู้อ่านสามารถออกไปอ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่เว็บไซต์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้

F:

Frequency คือ ความถี่ ถ้าในทางการตลาดจะเห็นความถี่ จากการที่ยิงโฆษณาไป เช่นยิงโฆษณาผ่าน Facebook จะมีเลขดูได้ว่า โฆษณาของเราถูกคนเดิมเห็นกี่ครั้งแล้ว ซึ่งการยิงโฆษณาที่ดี คือ 1 คนเห็นโฆษณาเดิมๆ ประมาณไม่เกิน 3-5 ครั้ง ยิ่งถ้าเลขความถี่มากเกินไปอาจเกิดความรำคาญและเป็นผลเสีย

G:

GA (Google Analytics) คือ เครื่องมือจาก Google ใช้สำหรับการวิเคราะห์ผล อ่านค่า เกี่ยวกับการทำการตลาดออนไลน์ ทำให้เราเห็นว่า เราควรปรับแคมเปญของเราอย่างไร ดูข้อมูลได้อย่าง Real time และเข้าใจพฤติกรรมลูกค้า จากช่องทางที่เขาเข้ามาในธุรกิจเรา หรือจากแคมเปญการตลาดไหน

GTM (Google Tag Manager) คือ เครื่องมือจาก Google ใช้สำหรับการติด Tag ต่างๆ รวมไว้ในที่เดียว เช่นรวมเครื่องมือ Google Analytics, Google Search Console, Google Ads หรือ Facebook pixel เหมาะสมหรับคนที่ไม่ค่อยเข้าใจเรื่องของ coding ที่ต้องติดบนเว็บไซต์ และ GTM นี้ก็เป็นที่นิยมของนักการตลาด

GSC (Google Search Console) คือ เครื่องมือจาก Google ใช้สำหรับการวิเคราะห์เว็บไซต์ของเรา ว่าผู้คนเข้ามาหาเราจากไหน มีส่วนไหนบนเว็บไซต์ต้องปรับปรุงให้ดีขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพให้เว็บไซต์ของเราส่งมอบประสบการณ์และคุณค่าที่ดีต่อผู้ใช้งาน ทั้งหมดนี้มีผลต่อการทำ SEO

H:

HTML (Hypertext Markup Language) คือ ภาษาหนึ่งในคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับ Web page อาจถือได้ว่าเป็นภาษาหลักในการเขียน Web page ที่ถูดเรียกใช้งานด้วย Web browser โดยมีการเขียนด้วยการกำกับ Tag ที่ควบคุมรูปภาพ ข้อความ

HTTP (Hypertext Transport Protocol) คือ โปรโตคอล ที่โอนถ่ายข้อมูล เป็นการสื่อสารระหว่าง Web browser โดย Web browser เช่น Chrome จะเรียกข้อมุลจากฐาน Server แล้วนำมาแสดงผลออกมาเป็นข้อความ หรือรูปภาพ โดยในปัจจุบัน เว็บไซต์ต่างๆ ควรใช้ HTTPS เพื่อเพิ่มความปลอดภัย (Secure) แก่ผู้ใช้เมื่อมีการโอนเงิน หรือเกี่ยวข้องกับการใส่รหัสข้อมูลส่วนตัว

I:

Impressions คือ จำนวนครั้งการแสดงผลของโฆษณาเรา ว่ามีคนเห็นเท่าไหร่ โดยไม่นับการถูกคลิก หรือ engagement อื่นๆ ตัว Impression จะมีการนับซ้ำกับการแสดงผลในคนเดิม

Internal Link คือ ลิงก์ที่อยู่ภายในเว็บไซต์ เป็นการเชื่อมลิงก์จากหน้า A ไปหน้า B โดยทั้ง 2 หน้านี้อยู่ภายในเว็บไซต์เดียวกัน ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ใช้งาน อ่านเพิ่มเติมในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกันบนเว็บไซต์เดิมได้

Index หรือ Google Index คือ การที่ Google bots วิ่งเข้ามายังเว็บไซต์เรา แล้วอ่านข้อมูล นำข้อมูลไปเก็บไว้ในฐานข้อมูล พอมีคนเรียกคำที่ใกล้เคียงกับเนื้อหาเรา เนื้อหาเราก็ถูกแสดงผลออกไปบนหน้าผลลัพธ์

J:

JavaScript คือ ภาษาของคอมพิวเตอร์อีกภาษาหนึ่ง ที่เน้นเขียนแบบเอฟเฟค หรือลูกเล่นต่างๆ โดยสามารถใช้งานร่วมกับ HTML เพื่อออกแบบและสร้าง Web page ให้น่าสนใจ

K:

Keyword Research คือ การวิเคราะห์ว่าเว็บไซต์ของเรามี Keyword อะไรบ้างที่ผู้คนจะถามหา มีวลีหรือคำอะไรที่คนจะเข้าถึงธุรกิจเรา เพื่อการที่เราจะทำเนื้อหาและสามารถแสดงผลออกบน SERPs ของ Google ได้ และผู้คนจะเข้าถึงเราใน keyword ที่เกี่ยวข้อง

Keyword Stuffing คือ การพยายามใส่คำ หรือ keyword เดิมซ้ำๆ หลายๆ ครั้งในบทความ ซึ่งคำพวกนั้นคือคำหลัก ที่เราอยากให้ผู้คนเข้าถึงเราด้วย คำนั้น การทำเช่นนี้มีผลเสียต่อการทำ SEO เพราะเราดูมุ่งเน้นพยายามทำเพื่อให้คนเข้าถึง แต่ไม่ได้ให้ประโยชน์ที่ดีแก่ผู้ใช้งาน (อ่านแล้วอาจจะไม่รู้เรื่องเนื่องจากเขียนวนๆ ซ้ำๆ ในคำนั้นๆ)

L:

Landing Page คือ หน้าเว็บไซต์ หรือหน้า URL นั้นๆ ที่เราต้องการพูดถึงบนเว็บไซต์ เราให้คนเข้ามาหาเราในหน้าที่เจาะจงนั้น เช่น เราต้องการให้คนเข้าเว็บไซต์เราและไปหน้าบทความ ก็ใส่ URL เฉพาะนั้นให้ผู้ใช้งานได้เลย (www.primal.co.th/blog)

Lead คือ คนที่มีแนวโน้มที่จะมาเป็นลูกค้าเราในอนาคต อาจจะเป็นคนที่เริ่มสนใจในธุรกิจเรา ดังนั้นการที่เราจะผันพวกเขามาเป็นลูกค้าก็อาศัยการตลาดในส่วนอื่นๆ และการพูดคุย เพื่อให้เค้ามาเป็นลูกค้าเราในที่สุด

Lookalike Audience คือ กลุ่มจำลองที่เราสร้างขึ้นมา โดยอิงจากข้อมูลและพฤติกรรมที่เราเคยมีข้อมูล โดยส่วนนี้เราใช้ใน Facebook ads เพื่อจำลองหากลุ่มคนที่คล้ายข้อมูลที่เรามี เราสามารถสร้างหาความเหมือนกลุ่มบุคคลเป็น % (1%-10% โดยยิ่งใกล้1% คือยิ่งเหมือนกลุ่มที่เราต้องการหรือมีข้อมูลอยู่)

M:

Meta Description คือ การใส่คำอธิบายว่าเนื้อหาที่เรากำลังเล่าเกี่ยวกับอะไร ซึ่งเขียนแค่เพียงสั้นๆ หรือประมาณ ไม่เกิน 150 อักษร โดยจะถูกแสดงอยู่บนหน้าของ Google เวลาคนค้นหา จะอยู่หลังชื่อหัวข้อที่แสดงประมาณไม่เกิน 2 บรรทัด โดยเพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา อาจมีการใส่ SEO keyword ลงไปด้วยก็ทำได้

Meta Title คือ ชื่อหัวข้อของเรื่องที่ปรากฎให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจว่าจะเข้าไปอ่านเรื่องเกี่ยวกับอะไร ซึ่ง Meta Title ผู้คนอาจเรียกว่า Meta Tag โดยทั้งนี้จะเกี่ยวข้องกับ HTML อยู่ในส่วนของ Headline โดยความยาวประมาณ 50-60 ตัวอักษร

N:

NoFollow คือ การที่ระบบจาก Google (หรือ Google bot) ไม่ส่งค่าหรือให้คะแนนไปยังลิงก์ที่อยู่ปลายทาง ซึ่งเมื่อก่อนอาจจะมีผลต่อ Ranking แต่ในปัจจุบัน Google bot ไม่ได้เพิกเฉยต่อลิงก์ที่ถูกใส่ code = NoFolllow แล้ว ยังถือว่ามีคุณค่าอยุ่บ้าง และเว็บไซต์ที่ดี ควรมีลิงก์ประเภท Nofollow ด้วย

O:

Organic Traffic คือ ยอดคนเข้าชมเว็บไซต์ของเราโดยไม่ได้จ่ายเงินให้คนเข้าถึง เช่น การที่คนค้นหาคำบนหน้า Google แล้วข้อมูลที่ปรากฎอยู่บนนั้นๆ ถูกกดเข้าไปอ่านต่อ ตรงนี้จึงเรียกว่า Organic traffic ในการทำ SEO ยิ่งมี Orgranic traffic ที่มาก มีส่วนในการทำให้อันดับเว็บไซต์ดีขึ้นด้วย

Outbound Link คือ ลิงก์ที่ออกจากเว็บไซต์หนึ่งไปยังอีกเว็บไซต์หนึ่ง โดยส่วนมาก การที่มีลิงก์ออกนั้นจะมีเนื้อความเกี่ยวข้องกัน เช่น การเว็บไซต์หนึ่งพูดถึงผลิตภัณฑ์ความงาม ก็อาจจะมี Outbound link ออกไปยังเนื้อหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นั้น หรือออกไปยังหน้าซื้อสินค้า

P:

Page Speed คือ ความเร็วของเว็บไซต์ที่ถูกโหลดขึ้นมาแสดงผล (แสดงเนื้อหาข้อความและรูปภาพ) ทั้งบน browser และมือถือ โดยมีปัจจัยการพิจารณาอยู่ 3 ส่วนหลักๆ คือ การเรียกไฟล์ต่างๆ ออกมา (Request) , ระยะเวลาโหลดเนื้อหา (Load time) และขนาดไฟล์ (Page size) ซึ่งในการทำ SEO ตัว Pagespeed ก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการ Rank

PPC หรือ Pay-Per-Click Advertising คือ การโฆษณาบนหน้าการค้นหาของ Google (หรือ search engine) เช่น การทำ Google ads ซึ่งตัวโฆษณาจะถูกแสดงผลอยู่บนผลลัพธ์แบบ ogranic และมีคำว่า “Ad”

Pixel หรือ Facebook pixel คือ เครื่องมือตัวหนึ่งจาก Facebook ที่นำ Code ไปติดบนเว็บไซต์ของเรา เพื่อที่จะทำการวิเคราะห์ อ่านค่า และประเมิณ ผู้คนที่เข้ามากรอกแบบฟอร์ม กดสั่งซื้่อ หรือทำอะไรบางอย่างตามวัตถุประสงค์ที่เราดึงให้คนเข้ามาบนเว็บไซต์ ทั้งนี้ค่าที่ได้จาก pixel นั้น สามารถนำมาปรับโฆษณาให้ดีกว่าเดิมและตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

Q:

Quality Score คือ คะแนนที่ถูกให้ค่าโดย Google เพื่อที่จะเป็นปัจจัยในการแสดงโฆษณา โดยคะแนนนี้บ่งบอกถึงคุณภาพและความสอดคล้องของโฆษณาเรากับคำที่ผู้คนต้องการค้นหา (keyword) โดย Quality score มีค่าระหว่าง 1-10 ยิ่งได้คะแนนใกล้ 10 มากเท่าไหร่ ก็จะแสดงถึงความมีคุณภาพ ตรงกับผู้ค้นหามากที่สุด

R:

Retargeting หรือ Remarketing คือ การที่เราพยายามส่งสารไปยังกลุ่มลูกค้าที่เคยมีปฏิสัมพันกับธุรกิจเรา อาจจะเป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายคนเก่าของเรา หรือคนที่เคยมาเข้าชมธุรกิจเราบนออนไลน์แต่ยังไม่เกิด Action ใดๆ ให้พวกเขาเหล่านั้นเกิดความต้องการในสินค้าเราอีกครั้ง และซื้อในท้ายที่สุด

ROAS (Return on Ad Spend) คือ การวัดผลตอบแทนจากการลงเงินในโฆษณา ว่าได้กกลับคืนมาเท่าไหร่ ซึ่งคำนวนได้จาก มูลค่าที่ได้รับจากโฆษณา ÷ เงินในการลงโฆษณา

Robots.txt (Robots Exclusion Protocol) คือไฟล์ที่บอกให้ Google (หรือพวก Search engine อื่นๆ) วิ่งเข้ามาเก็บ หรือไม่เก็บข้อมูลบนเว็บไซต์ของเรา โดยปกติพวก bot ต่างๆ จะวิ่งเข้ามาเก็บข้อมูลทั้งหมด แต่ถ้าเราใส่ Robots.txt แล้ว ก็บอกให้ไม่เก็บข้อมูลในหน้าที่เราต้องการได้ (Disallow) โดยเช็คค่าเว็บไซต์นั้นๆมี Robot.txt ไหม ด้วยการเติม /robots.txt ท้ายสุดของ URL นั้น

ROI (Return on Investment) คือ ผลตอบแทนจากการลงทุนที่เทียบกับเงินที่จ่ายไป โดยคำนวนจาก (รายได้-เงินลงทุน) ÷ เงินลงทุน

S:

SIS (Search Impression Share) คือ การที่โฆษณาของเราแสดงผลบน Google search โดยเปรียบเทียบกับของคนอื่นๆ ที่อยู่บนหน้าเดียวกัน ตัวเลขจะเป็น % ยิ่งเรามี Search Impression Share มากเท่าไหร่ ยิ่งหมายความว่าโฆษณาแบบ Google ads ของเราถูกคนเห็นมากเท่านั้น

SEM หรือ Search Engine Marketing คือ การทำการตลาดบน Google หรือบนอินเตอร์เน็ตที่ใช้การค้นหานั่นเอง โดยมาจาก Search Engine และ Marketing รวมกัน ซึ่งการทำการตลาดแบบ SEM นั้น จะมีทั้งเสียงเงินและไม่เสียเงิน ถ้าเสียเงินคือ Paid Marketing (หรือพวก Google ads) และ SEO ที่ไม่เสียเงินในการขึ้นอันดับ

SEO หรือ Search Engine Optimisation คือ การทำให้เว็บไซต์นั้นๆ ติดอันกับบนการค้นหาในหน้า Google โดยต้องปรับทั้งเว็บไซต์ เนื้อหา และ Backlink เพื่อให้มั่นใจว่าเนื้อหาที่ปรากฏแสดงผลให้ผู้ใช้งาน ได้ตอบโจทย์มากที่สุด วิธีการทำ SEO นี้อาจใช้เวลานาน แต่ถ้าทำอย่างถูกต้องสามารถขึ้นอันดับได้เร็ว และไม่ต้องเสียเงินเหมือนพวก Paid media

SERP หรือ Search Engine Results Page คือ หน้าการแสดงผลของการค้นหาผ่าน Search Engine เช่น ข้อความและเว็บไซต์ต่างๆ ที่ปรากฏบนหน้า Google เวลาเราใส่ keyword สอบถามอะไรไป เว็บไซต์ต่างๆนั้น จะสังเกตได้ว่ามีหลากหลายข้อความที่พยายามตอบข้อความของเรา เมื่อเราถามบนหน้า Google โดยมีการแสดงผลทั้งหมด 100 อันดับ

Sessions คือ ตัวเลขในการที่คนเข้าชมเว็บไซต์และทำกิจกรรมต่างๆ ในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งนับเป็น 1 คน ในทางการตลาดหรือที่เจอใน Google analytics และตัว Sessions เองก็ทำให้เกิด Metric อีกหลายๆ ตัว และตัว Sessionsจะมีการนับช่วงเวลาหนึ่งประมาณ 30 นาที

Sitemap คือ แผนผังของเว็บไซต์ หรือโครงสร้างเว็บไซต์ ทำให้ผู้คนเข้ามาบนเว็บไซต์เราดูได้ว่าเว็บไซต์เรามีหน้าอะไรบ้าง และสามารถนำพวกเขา ไปหน้าอื่นได้อย่างต่อเนื่อง

Spider หรือ Google spider คือ เครื่องมือของทางฝั่ง Google (อีกชื่อหนึ่งคือ Google Bot) ที่เข้ามาเช็คและเก็บรายละเอียดข้มูลต่างๆ บนเว็บไซต์ของเรา นั่นก็คือ Crawling และหลังจากนั้นเมื่อจัดทำดัชนี (Indexing) แล้ว เวลาผู้ใช้งานค้นหาก็จะถูกดึงข้อมูลออกมาจัดอันกับ (Ranking)

T:

Trigger คือ การควบคุมการทำงานของ Tag ต่างๆ ใน Google Tag Manager ซึ่งตัว Trigger จะตอบสนองต่อพฤติกรรมของผู้ใช้นั้นๆ เช่นการที่ผู้คนเข้าไปถึงหน้า Thank you หลังจากกรอกแบบฟอร์มเสร็จ หรือหลังสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ นั่นหมายความว่า Trigger ก็เก็บข้อมูลและเราสามารถนำข้อมูลไปทำ Remarketing ภายหลังได้

U:

URL (Uniform Resource Locator) คือ การที่ระบุไฟล์หนึ่งบนอินเตอร์เน็ต หรือที่เข้าใจได้อย่างง่าย คือลิงก์ของเว็บไซต์นั้นๆ โดยใน 1 ลิงก์ก็นำไปได้แค่หน้าหนึ่งเท่านั้น ถ้า URL เปลี่ยนก็ทำให้การเข้าถึงหน้านั้นๆ เปลี่ยนตาม URL ด้วย ซึ่ง URL สามารถเป็นไฟล์ประเภทต่างๆนอกจาก Web page ก็ได้ เช่นไฟล์รูปภาพ หรือเสียง เป็นต้น

UTM Tracking คือ การที่ URL ติดพารามิเตอร์ต่อท้าย เพื่อทำให้เราสามารถรู้ได้ว่า ลิงก์เว็บไซต์ของเราที่ติด UTM นั้น เวลาไปแชร์บนที่ต่างๆ เช่น social media ถูกคนเข้ามาจากไหนได้บ้างและจากแคมเปญอะไร เมื่อดูผ่าน Google analytics

V:

Value Proposition คือ คุณค่าที่เราส่งมอบให้กับลูกค้า ซึ่งเหมือนเราได้ให้ประโยชน์แก่ลูกค้าผ่านสินค้า หรือบริการของเรา ซึ่งจุดนี้ธุรกิจควรทำให้ดีและโดดเด่นเหนือคู่แข่ง ทำให้เป็นจุดแข็งของธุรกิจ

W:

Web browser คือ โปรแกรมที่ทำให้ผู้คนเข้าถึงเว็บเพจต่างๆ เป็นภาษาแบบ HMTL แต่จะแปลงออกมาให้ผู้คนเข้าใจง่าย โดยผู้ใช้ต้องใส่ Domain name หรือชื่อเว็บไซต์ โดยถ้าให้เข้าใจอย่างสั้นๆ ของ Web broser ก็คือผู้ให้บริการในการให้ผู้คนเข้าถึงอินเตอร์เน็ตในหน้าต่างๆ ได้ เช่น Google Chrome หรือ Safari

Web page คือ หน้าต่างการแสดงข้อมูล ข้อความ หรือไฟล์ต่างๆ เช่น รูปภาพ ที่อยู่ในรูปแบบ HTML ข้อมูลถูกเรียกดูได้โดยทุกคน

WordPress คือ โปรแกรมในการสร้างและจัดการส่วนต่างๆ ของเว็บไซต์ โดยหลักๆ เป็นการจัดการในเรื่องของ Content หรือเป็น Content management system (CMS) รูปแบบหนึ่ง ซึ่งการใช้ wordpress มีส่วนทำให้การทำ SEO เป็นไปได้อย่างง่ายและเป็น SEO friendly

X:

XML Sitemap คือ ผังเว็บไซต์ แสดงโครงสร้าง ซึ่งเน้นให้ทาง Bot ของ Google รู้ว่าบนเว็บไซต์เรามีอะไรบ้าง แล้วยิ่งถ้าเราวาง XML Sitemap ได้อย่างเข้าใจง่าย เป็นระเบียบ ก็จะส่งผลดีต่อการทำ SEO อีกด้วย

Y:

Yoast หรือ Yoast SEO คือ ปลั๊กอินที่เราติดตั้ง เพื่อให้เราสามารถจัดการเนื้อหา หรือส่วนอื่นๆ ที่เป็น Technical โดยเราสามารถติดตั้งปลั๊กอินนี้กับ wordpress ได้ และการปรับปรุงได้ดีจากคำแนะนำ Yoast จะทำให้การทำ SEO ต่อเว็บไซต์เราดีขึ้นอีกด้วย

รับคำปรึกษาด้านกลยุทธ์ฟรี
Show Buttons
Hide Buttons